คำว่า “แชมป์โลก” ที่ “ทีมแตงไทย” คว้ามาจากงาน “อิมเมจิ้น คัพ 2012” รอบชิงชนะเลิศระดับโลก ที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 6-10 ก.ค. 55 ซึ่งจัดโดยบริษัท ไมโครซอฟท์ ไม่ใช่เรื่องที่ได้มาครอบครองกันง่าย ๆ
อยากรู้ว่า “ทีมแตงไทย” ทำอย่างไรถึงได้แชมป์โลก มาอ่านกัน...
“ทีมแตงไทย” มีสมาชิกทั้งหมด 4 คน ประกอบด้วย นายกฤตินันท์ สิโรดม, นายชนกานต์ ชินชัชวาล, นายศิริศักดิ์ นาคะวิวัฒน์ และนายปนาวุธ พวงศิลป์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดลภายใต้การดูแลของ ดร.ศรีสุภา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยาอาจารย์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษาของทีมแตงไทย เจ้าของเกม Verdant Fantasy เกมวางแผนประเภท RST (Real-Time Strategy) ซึ่งผู้เล่นจะได้รับบทเป็นคนที่ได้รับเลือกให้มาช่วยปกป้องป่าไม้ และสอนให้ผู้เล่นรู้จักคุณค่าและประโยชน์ของพืชผักผลไม้
ดร.ศรีสุภา กล่าวว่า ความสำเร็จของทีมแตงไทยที่เกิดขึ้นในวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นการนำประสบการณ์การแข่งขันประเภทเกมดีไซน์บนเวทีอิมเมจิ้น คัพ ปีก่อน ๆ ที่รุ่นพี่แข่งขันมาปรับใช้ ทั้งในเรื่องของการออกแบบเกม การค้นคว้าข้อมูล และการรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความชัดเจนให้กับแนวคิดของการสร้างเกม Verdant Fantasy ในทุก ๆส่วน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เช่น การสร้างหุ่นยนต์พ่นไฟได้ หมายถึง ไฟป่า, หุ่นยนต์ตัดไม้ หมายถึง คนที่เข้ามาตัดไม้ทำลายป่า โดยเกม Verdant Fantasy พัฒนามาจากแนวคิดที่ต้องการตอบโจทย์เรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยชื่อ Verdant Fantasy หมายถึงป่าเขียวขจีซึ่งสื่อถึงวัตถุประสงค์ของการสร้างเกมด้วย
“ท๊อป-กฤตินันท์” เล่าถึงขั้นตอนการพัฒนาและสร้างเกม Verdant Fantasy จนได้รางวัลชนะเลิศเกมดีไซน์แบบเอ็กซ์บ๊อกซ์/วินโดว์ส บนเวที “อิมเมจิ้น คัพ 2012” ว่าตลอด 8 เดือนที่เริ่มพัฒนาเกมทุกคนในทีมมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน ซึ่งการทำงานในทุกส่วนต้องร่วมมือกันและนำความคิดเห็นของทุกคนที่ได้ทดลองเล่นเกมมาปรับเพื่อทำให้เกมมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยงานที่ท๊อปรับผิดชอบและมีความโดดเด่นอย่างมากจนได้รับคำชมจากคณะกรรมการตัดสินระหว่างนำเสนอผลงานในรอบ
ชิงชนะเลิศว่าดนตรีประกอบในเกมเพราะมาก
“เทคนิคที่ใช้แต่งเพลงประกอบเกม คือ การเปิดเกมเล่นไปเรื่อย ๆ และใช้จินตนาการระหว่างเล่นเกมสร้างอารมณ์ว่าดนตรีและเพลงที่จะใช้ประกอบการเล่นเกมควรเป็นแบบไหน เพื่อทำให้เพลงที่ได้สามารถสื่ออารมณ์ของเกมออกมาได้”
“เกม-ศิริศักดิ์” ผู้วาดตัวการ์ตูนในเกม บอกว่า ตัวการ์ตูนในเกมที่วาดทั้งกระต่าย กระรอก หมาป่า แมว และหุ่นยนต์ ทั้งหมดคิดขึ้นตามแนวคิดของลักษณะตัวการ์ตูนที่เหมาะสมกับเกม ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนเยอะมากเพื่อให้ผู้เล่นรับรู้ถึงความหมายของตัวการ์ตูนแต่ละตัว โดยใช้เวลาปรับเปลี่ยนลักษณะรูปร่างหน้าตาของตัวการ์ตูนกว่า 6 เดือน
ขณะที่ “อาร์ท-ชนกานต์” กับ “นิวเคลียร์-ปนาวุธ” ผู้เขียนโค้ดให้ตัวการ์ตูนในเกมสามารถเคลื่อนไหว และประสานการทำงานกับองค์ประกอบในส่วนต่าง ๆ ของเกม เช่น การคลิกปลูกต้นไม้ และการเติบโตของต้นไม้ เล่าว่า ความยากของการพัฒนาเกม Verdant Fantasy อยู่ที่การทำให้เกมมีการเคลื่อนไหวที่ราบรื่น สนุก และผู้เล่นรู้สึกว่าใช้งานง่าย โดยการเขียนโค้ดเกมนี้ปรับแก้กันจนนาทีสุดท้ายก่อนขึ้นเวทีนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการในรอบชิงชนะเลิศเลยทีเดียว
เส้นทางแชมป์ของ “ทีมแตงไทย” นอกจากต้องฝ่าฟันกับทีมที่เข้าแข่งขันกว่า 400 ทีมทั่วโลก จากการนำเสนอผลงานผ่านเว็บไซต์โดยตรง ซึ่งคณะกรรมการคัดเหลือ 10 ทีม เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศระดับโลกที่ออสเตรเลีย กระทั่งเข้าสู่รอบ 5 ทีมสุดท้ายเพื่อชิงชนะเลิศแล้ว ความยากยังไม่หมด เพราะน้อง ๆ ทีมแตงไทย บอกว่า นอกจากการพัฒนาเกม ความยากอีกส่วนคือการนำเสนอผลงานเกมที่พัฒนาต่อหน้าคณะกรรมการ โดยทำให้คณะกรรมการเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดของเกมที่พัฒนาขึ้น ซึ่งการนำเสนอผลงานในทุกรอบจะใช้ภาษาอังกฤษ
ส่วนเกม Verdant Fantasy จะมีการพัฒนาต่อยอดจนสามารถทำตลาดและวางขายได้หรือไม่นั้น ที่ปรึกษาทีมแตงไทย กล่าวว่า ถ้ามีโอกาสและจังหวะที่เหมาะสมก็อาจจะพัฒนาเกมต่อเพื่อนำเข้าจำหน่ายในตลาด
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจจะส่งผลงานเข้าร่วมการแข่งขันประเภทเกมดีไซน์ของ “อิมเมจิ้นคัพ 2013” ที่จะจัดแข่งขันรอบชิงชนะเลิศที่ประเทศรัสเซีย “ทีมแตงไทย” ให้ข้อคิดว่า ถ้าจะเข้าร่วมการแข่งขันเกม สิ่งที่ต้องมี คือ ความตั้งใจ ความใส่ใจ และพร้อมที่จะเปิดใจเพื่อรับฟังคำติชมแล้วนำกลับไปพัฒนาเกมให้ดียิ่งขึ้นที่สำคัญต้องใจสู้เพราะความสำเร็จไม่ใช่สิ่งที่ได้มาอย่างง่าย ๆ
ขอขอบคุณ : เดลินิวส์-ม.มหิดล
อยากรู้ว่า “ทีมแตงไทย” ทำอย่างไรถึงได้แชมป์โลก มาอ่านกัน...
“ทีมแตงไทย” มีสมาชิกทั้งหมด 4 คน ประกอบด้วย นายกฤตินันท์ สิโรดม, นายชนกานต์ ชินชัชวาล, นายศิริศักดิ์ นาคะวิวัฒน์ และนายปนาวุธ พวงศิลป์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดลภายใต้การดูแลของ ดร.ศรีสุภา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยาอาจารย์คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปรึกษาของทีมแตงไทย เจ้าของเกม Verdant Fantasy เกมวางแผนประเภท RST (Real-Time Strategy) ซึ่งผู้เล่นจะได้รับบทเป็นคนที่ได้รับเลือกให้มาช่วยปกป้องป่าไม้ และสอนให้ผู้เล่นรู้จักคุณค่าและประโยชน์ของพืชผักผลไม้
ดร.ศรีสุภา กล่าวว่า ความสำเร็จของทีมแตงไทยที่เกิดขึ้นในวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็นการนำประสบการณ์การแข่งขันประเภทเกมดีไซน์บนเวทีอิมเมจิ้น คัพ ปีก่อน ๆ ที่รุ่นพี่แข่งขันมาปรับใช้ ทั้งในเรื่องของการออกแบบเกม การค้นคว้าข้อมูล และการรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความชัดเจนให้กับแนวคิดของการสร้างเกม Verdant Fantasy ในทุก ๆส่วน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เช่น การสร้างหุ่นยนต์พ่นไฟได้ หมายถึง ไฟป่า, หุ่นยนต์ตัดไม้ หมายถึง คนที่เข้ามาตัดไม้ทำลายป่า โดยเกม Verdant Fantasy พัฒนามาจากแนวคิดที่ต้องการตอบโจทย์เรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยชื่อ Verdant Fantasy หมายถึงป่าเขียวขจีซึ่งสื่อถึงวัตถุประสงค์ของการสร้างเกมด้วย
“ท๊อป-กฤตินันท์” เล่าถึงขั้นตอนการพัฒนาและสร้างเกม Verdant Fantasy จนได้รางวัลชนะเลิศเกมดีไซน์แบบเอ็กซ์บ๊อกซ์/วินโดว์ส บนเวที “อิมเมจิ้น คัพ 2012” ว่าตลอด 8 เดือนที่เริ่มพัฒนาเกมทุกคนในทีมมีการแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน ซึ่งการทำงานในทุกส่วนต้องร่วมมือกันและนำความคิดเห็นของทุกคนที่ได้ทดลองเล่นเกมมาปรับเพื่อทำให้เกมมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยงานที่ท๊อปรับผิดชอบและมีความโดดเด่นอย่างมากจนได้รับคำชมจากคณะกรรมการตัดสินระหว่างนำเสนอผลงานในรอบ
ชิงชนะเลิศว่าดนตรีประกอบในเกมเพราะมาก
“เทคนิคที่ใช้แต่งเพลงประกอบเกม คือ การเปิดเกมเล่นไปเรื่อย ๆ และใช้จินตนาการระหว่างเล่นเกมสร้างอารมณ์ว่าดนตรีและเพลงที่จะใช้ประกอบการเล่นเกมควรเป็นแบบไหน เพื่อทำให้เพลงที่ได้สามารถสื่ออารมณ์ของเกมออกมาได้”
“เกม-ศิริศักดิ์” ผู้วาดตัวการ์ตูนในเกม บอกว่า ตัวการ์ตูนในเกมที่วาดทั้งกระต่าย กระรอก หมาป่า แมว และหุ่นยนต์ ทั้งหมดคิดขึ้นตามแนวคิดของลักษณะตัวการ์ตูนที่เหมาะสมกับเกม ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนเยอะมากเพื่อให้ผู้เล่นรับรู้ถึงความหมายของตัวการ์ตูนแต่ละตัว โดยใช้เวลาปรับเปลี่ยนลักษณะรูปร่างหน้าตาของตัวการ์ตูนกว่า 6 เดือน
ขณะที่ “อาร์ท-ชนกานต์” กับ “นิวเคลียร์-ปนาวุธ” ผู้เขียนโค้ดให้ตัวการ์ตูนในเกมสามารถเคลื่อนไหว และประสานการทำงานกับองค์ประกอบในส่วนต่าง ๆ ของเกม เช่น การคลิกปลูกต้นไม้ และการเติบโตของต้นไม้ เล่าว่า ความยากของการพัฒนาเกม Verdant Fantasy อยู่ที่การทำให้เกมมีการเคลื่อนไหวที่ราบรื่น สนุก และผู้เล่นรู้สึกว่าใช้งานง่าย โดยการเขียนโค้ดเกมนี้ปรับแก้กันจนนาทีสุดท้ายก่อนขึ้นเวทีนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการในรอบชิงชนะเลิศเลยทีเดียว
เส้นทางแชมป์ของ “ทีมแตงไทย” นอกจากต้องฝ่าฟันกับทีมที่เข้าแข่งขันกว่า 400 ทีมทั่วโลก จากการนำเสนอผลงานผ่านเว็บไซต์โดยตรง ซึ่งคณะกรรมการคัดเหลือ 10 ทีม เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศระดับโลกที่ออสเตรเลีย กระทั่งเข้าสู่รอบ 5 ทีมสุดท้ายเพื่อชิงชนะเลิศแล้ว ความยากยังไม่หมด เพราะน้อง ๆ ทีมแตงไทย บอกว่า นอกจากการพัฒนาเกม ความยากอีกส่วนคือการนำเสนอผลงานเกมที่พัฒนาต่อหน้าคณะกรรมการ โดยทำให้คณะกรรมการเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดของเกมที่พัฒนาขึ้น ซึ่งการนำเสนอผลงานในทุกรอบจะใช้ภาษาอังกฤษ
ส่วนเกม Verdant Fantasy จะมีการพัฒนาต่อยอดจนสามารถทำตลาดและวางขายได้หรือไม่นั้น ที่ปรึกษาทีมแตงไทย กล่าวว่า ถ้ามีโอกาสและจังหวะที่เหมาะสมก็อาจจะพัฒนาเกมต่อเพื่อนำเข้าจำหน่ายในตลาด
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจจะส่งผลงานเข้าร่วมการแข่งขันประเภทเกมดีไซน์ของ “อิมเมจิ้นคัพ 2013” ที่จะจัดแข่งขันรอบชิงชนะเลิศที่ประเทศรัสเซีย “ทีมแตงไทย” ให้ข้อคิดว่า ถ้าจะเข้าร่วมการแข่งขันเกม สิ่งที่ต้องมี คือ ความตั้งใจ ความใส่ใจ และพร้อมที่จะเปิดใจเพื่อรับฟังคำติชมแล้วนำกลับไปพัฒนาเกมให้ดียิ่งขึ้นที่สำคัญต้องใจสู้เพราะความสำเร็จไม่ใช่สิ่งที่ได้มาอย่างง่าย ๆ
ขอขอบคุณ : เดลินิวส์-ม.มหิดล