การทดลองทางวิทยาศาสตร์
สิ่งที่ต้องใช้
- ปากกาเก่าๆที่หมึกหมดแล้ว (หรือพู่กันเล็กๆ)
- น้ำส้มสายชู หรือน้ำมะนาว
- กระดาษ
- เทียนไข
วิธีทดลอง
- นำปากกามาจุ่มลงในน้ำส้มสายชู แล้วขียนตัวหนังสือลงในกระดาษ เขียนตัวใหญ่ๆหน่อยนะครับจะได้มองเห็นชัดๆ
- ทิ้งไว้จนกระดาษแห้ง
- วิธีอ่านข้อความในจดหมายก็คือ นำไปส่องกับแสนเทียนตัวหนังสือปริศนาจะปรากฏขึ้นทันที หากกลัวไฟไหม้กระดาษก็ใช้เตารีดมารีด หรือเป่าด้วยเครื่องเป่าผมก็ได้ครับ
เพราะอะไรกันนะ
ทำไมเวลาที่มะนาวเขียนใส่ลงในกระดาษแล้วนำไปลนไฟจะเกิดเป็นรอยไหม้สีนำตาล
เนื่องจากน้ำมะนาวที่ถูกความร้อนจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับออกซิเจนใน อากาศ เมื่อถูกออกซิไดซ์น้ำมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล นอกจากน้ำมะนาวแล้วยังมีสารอีกบางชนิดที่ใช้ทำหมึกล่องหนชนิด กระตุ้นด้วยความร้อน เช่น นม น้ำส้ม น้ำแอปเปิ้ล น้ำหอมใหญ่ สารละลายน้ำตาล น้ำผึ้งเจือจาง โค้กหรือเป๊บซี่เจือจาง ไวน์ หรือแม้แต่น้ำสบู่ ลองดูนะครับ
เนื่องจากน้ำมะนาวที่ถูกความร้อนจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับออกซิเจนใน อากาศ เมื่อถูกออกซิไดซ์น้ำมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล นอกจากน้ำมะนาวแล้วยังมีสารอีกบางชนิดที่ใช้ทำหมึกล่องหนชนิด กระตุ้นด้วยความร้อน เช่น นม น้ำส้ม น้ำแอปเปิ้ล น้ำหอมใหญ่ สารละลายน้ำตาล น้ำผึ้งเจือจาง โค้กหรือเป๊บซี่เจือจาง ไวน์ หรือแม้แต่น้ำสบู่ ลองดูนะครับ
ขวดเป่าลูกโป่ง
ก๊าซเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นแต่เรารู้ว่ามันเกิดขึ้นและมีอยู่ได้โดยจับมันไว้ในลูกโป่ง อย่างการทดลองนี้ไง
สิ่งที่ต้องใช้
- ขวดแก้วเตี้ย อย่างขวดน้ำส้มสแปลช 1 ขวด
- ลูกโป่ง 1 ใบ
- ผงฟู (เบกกิ้งโซดา) 5 ช้อนโต๊ะ
- น้ำส้มสายชู
วิธีทดลอง
- เป่าลูกโป่งให้ยืดตัวก่อนทดลองสัก 2 รอบ
- ใส่เบกกิ้งโซดา ลงในขวดแก้ว
- เติมน้ำส้มสายชูลงไป
- ครอบลูกโป่งลงบนปากขวด
เพราะอะไรกันนะ
เมื่อเบกกิ้งโซดา ทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชูจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ขึ้นก๊าซเบากว่าอากาศ จึงลอยสูงขึ้น เมื่อมีก๊าซมากๆก็จะดันลูกโป่งให้พองออกได้
เบกกิ้งโซดา (Baking Soda) มีชื่อทางวิทย่ศาสตร์ว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate) หรือที่คุณแม่เรียกว่า ผงฟู นั่นเอง
เบกกิ้งโซดา (Baking Soda) มีชื่อทางวิทย่ศาสตร์ว่า โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate) หรือที่คุณแม่เรียกว่า ผงฟู นั่นเอง
เปลวไฟลอยน้ำ
สิ่งที่ต้องใช้
- เทียนไข
- แก้วทรงสูงใส่น้ำ (ต้องสูงกว่าความยาวเทียนนะ)
- หมุดหัวหมวก หรือตะปูเกลียวตัวเล็กๆ
วิธีทดลอง
- เติมน้ำลงในแก้ว 5/6 แก้ว
- นำหมุดมาปักลงที่ฐานเทียนไข(ด้านป้าน)
- นำแท่งเทียนใส่ลงไปในแก้วน้ำ แล้วจุดเทียน
เพราะอะไรกันนะ
เทียนไขลอยอยู่ที่ผิวน้ำได้ และไฟก็จะไม่ดับ เพราะเทียนทำจากขี้ผึ้งพาราฟินจึงไม่เปียกน้ำ และหมุดหัวหมวก ทำหน้าที่เป็นจุดรวมน้ำหนักให้อยู่ที่แกนกลางแท่งเทียนจึงไม่เอียงคว่ำ
ขี้ผึ้งพาราฟินเป็นไขมันที่ได้จากการกลั่นจากปิโตรเลียมมีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ คล้ายกับขี้ผึ้ง จุดหลอมเหลวที่ 47-64 องศาเซลเซียส ซึ่งขี้ผึ้งพาราฟินบริสุทธิ์จะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ไม่ละลายน้ำ พาราฟินมักนำมาทำเทียนไข หรือเคลือบวัสดุต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โดนความชื้นจากน้ำ
ขี้ผึ้งพาราฟินเป็นไขมันที่ได้จากการกลั่นจากปิโตรเลียมมีลักษณะใส ไม่มีกลิ่น ไม่มีรสชาติ คล้ายกับขี้ผึ้ง จุดหลอมเหลวที่ 47-64 องศาเซลเซียส ซึ่งขี้ผึ้งพาราฟินบริสุทธิ์จะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี ไม่ละลายน้ำ พาราฟินมักนำมาทำเทียนไข หรือเคลือบวัสดุต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โดนความชื้นจากน้ำ
ความลับของสี
สีต่างๆที่เราเห็น ไม่ได้ประกอบด้วยสีเดียวเสมอไปนะ ในแต่ละสีอาจมีรวมกันอยู่ถึง 4 สี เรามาทดลองเพื่อเผยความลับของสีกันเถอะ
สิ่งที่ต้องใช้
- สีเมจิ สีดำ , น้ำเงิน , น้ำตาล (สีเข้มๆจะให้ผลการทดลองที่น่าตื่นเต้น)
- กระดาษกรองกาแฟ , กรองตะกอนน้ำมัน
- แก้วใส่น้ำ
วิธีทดลอง
- ตัดกระดาษกรองเป็นแถบยาวๆ
- ระบายสีเมจิที่ต้องการทดสอบให้เป็นแถบหนา โดยห่างจากปลายกระดาษประมาณ 1 ซม.
- จุ่มปลายกระดาษในช่วงที่เว้นไว้ 1ซม. ลงในน้ำ *ระวังอย่าให้เส้นสีที่ขีดไว้จมน้ำ เพราะสีจะลายลายลงน้ำ
- รอดู สังเกตแถบสีที่เริ่มไต่สูงขึ้นไปบนกระดาษกรอง เธอเห็นสีอะไรซ่อนอยู่?
- นำกระดาษไปหนีบผึ่งไว้กับที่ตากถุงเท้า แล้วทดลองสีต่อไป
เพราะอะไรกันนะ
สีสังเคราะห์เกิดจากการผสมของแม่สี คือ แดง เหลือง น้ำเงิน ในอัตราส่วนไม่เท่ากัน ทำให้เกิดสีต่างๆมากมาย การแยกสีด้วยกระดาษกรองนี้ เราเรียกว่า "เปอเปอร์โครมาโทกราฟี" (Paper Chromatography) ซึ่งเป็นการแยกสารที่ผสมกันในปริมาณน้อยให้แยกออกมาเป็นแถบเส้นสีหรือแถบสี อาศัยสมบัติ 2 ประการ คือ
1. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลาย (น้ำ) ได้ต่างกัน
2. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับ (กระดาษกรอง)ได้ต่างกัน
สารที่ละลายในตัวทำละลายได้ดีส่วนมากจะถูกดูดซับไม่ดี จึงเคลื่อนที่ไปได้ไกล ส่วนสารที่ละลายในตัวทำละลายได้ไม่ดี ส่วนมากจะถูกดูดซับได้ดีจึงอยู่ใกล้จุดเริ่มต้น
1. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการละลายในตัวทำละลาย (น้ำ) ได้ต่างกัน
2. สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับ (กระดาษกรอง)ได้ต่างกัน
สารที่ละลายในตัวทำละลายได้ดีส่วนมากจะถูกดูดซับไม่ดี จึงเคลื่อนที่ไปได้ไกล ส่วนสารที่ละลายในตัวทำละลายได้ไม่ดี ส่วนมากจะถูกดูดซับได้ดีจึงอยู่ใกล้จุดเริ่มต้น
ไข่เอย..จงนิ่ม
มาเสกให้ไข่ไก่นิ่มกันเถอะ
สิ่งที่ต้องใช้
- แก้ว 1 ใบ
- ไข่ไก่ 1 ฟอง
- น้ำส้มสายชู
วิธีทดลอง
- นำไข่ไก่ใส่ลงไปในแก้ว
- เทน้ำส้มสายชูลงไปให้ท่วมไข่
- ทิ้งไว้ 1 คืน อดใจรอนะพอตอนเช้าเทน้ำออกก็แล้วลองจับไข่ดูซิ..
เพราะอะไรกันนะ
น้ำส้มสายชูเป็นสารเคมีประเภทกรดอินทรีย์ ได้แก่ กรดน้ำส้มหรือกรดอะซิติก ซึ่งสามารถละลายแคลเซียมได้ เปลือกไข่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้เปลือกไข่แข็ง เมื่อถูกละลายหายไป เปลือกไข่จึงนิ่ม
กระดูกเรา ก็มีแคลเซียมเช่นกัน คราวหน้าเพื่อนๆกิน KFC.แล้วเอากระดูกไก่ มาทดลองดูนะว่าเป็นอย่างไร
น้ำส้มสายชูเป็นสารเคมีประเภทกรดอินทรีย์ ได้แก่ กรดน้ำส้มหรือกรดอะซิติก ซึ่งสามารถละลายแคลเซียมได้ เปลือกไข่มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้เปลือกไข่แข็ง เมื่อถูกละลายหายไป เปลือกไข่จึงนิ่ม
กระดูกเรา ก็มีแคลเซียมเช่นกัน คราวหน้าเพื่อนๆกิน KFC.แล้วเอากระดูกไก่ มาทดลองดูนะว่าเป็นอย่างไร
เอาไว้เล่นสนุกกับลูกหลาน ได้ครามรู้ และความสนุกสนานครับ
ที่มา karn.tv/งานประดิษฐ์