นายอนันต์ ระงับทุกข์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำลังพิจารณาจัดทำกรอบอัตรากำลังตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตาม มาตรา 38 ค (2) ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) จำนวน 225 เขตทั่วประเทศใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนบุคลากรที่มีอยู่ 11,669 คนในปัจจุบัน โดยเบื้องต้นกรอบอัตรากำลังใหม่จะแบ่งเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นสองกลุ่ม คือ สพป.
กลุ่ม 1 จำนวน 89 เขต และกลุ่ม 2 จำนวน 94 เขต ใช้เกณฑ์พิจารณาจาก
6 องค์ประกอบ ได้แก่ เขตพื้นที่การศึกษาเดียว เขตพื้นที่การศึกษา เขต 1
จำนวนสถานศึกษาของรัฐในสังกัด จำนวนสถานศึกษาเอกชน จำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และสภาพพื้นที่ในการปฏิบัติงาน ส่วน สพม.แบ่งเป็นสองกลุ่มเช่นเดียวกัน ใช้เกณฑ์พิจารณาจากองค์ประกอบ ดังนี้ จำนวนจังหวัด จำนวนสถานศึกษา จำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
จำนวนนักเรียน และสภาพพื้นที่ในการปฏิบัติงาน โดย สพม.กลุ่ม 1
มีจำนวน 19 เขต กลุ่ม 2 มีจำนวน 23 เขต
รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า กรอบอัตรากำลังที่กำหนดใหม่นั้น
จะประกอบด้วย ตำแหน่งเชี่ยวชาญ กลุ่มอำนวยการ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มนโยบายและแผน กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมิน กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ หน่วยตรวจสอบภายใน กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน โดย สพป.กลุ่ม 1 จะมีอัตรารวม 56 อัตรา สพป.กลุ่ม 2 มี 50 อัตรา สพม.กลุ่ม 1 มี 50 อัตรา และสพม.กลุ่ม 2 มี 45 อัตรา ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องเสนอพิจารณาร่วมกับคณะทำงานของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ก่อน จากนั้นนำเสนอคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ระบบที่ดูแลเรื่องบุคลากร พิจารณาก่อนนำเสนอต่อที่ประชุม ก.ค.ศ. พิจารณาเห็นชอบต่อไป
"ทุกวันนี้กรอบอัตรากำลังที่กำหนดไว้ในเขตพื้นที่การศึกษามี 17,272 อัตรา แต่ยังไม่สามารถบรรจุได้ตามกรอบที่กำหนดไว้ หลายเขตพื้นที่การศึกษามีคนทำงานน้อยก็จะทำให้มีปัญหาในการทำงานอยู่บ้าง ฉะนั้นการกำหนดกรอบอัตรากำลังในเขตพื้นที่การศึกษาใหม่จะทำให้สามารถจัดเกลี่ยอัตรากำลังให้เหมาะสมกันในแต่ละเขต เช่น เขตพื้นที่การศึกษาใดที่อัตรากำลังมีเยอะ เมื่อมีตำแหน่งเกษียณอายุราชการก็จะนำอัตราที่ได้ไปเกลี่ยให้กับเขตพื้นที่การศึกษาอื่นที่อัตรากำลังมีน้อย" นายอนันต์ กล่าว
ขอขอบคุณข่าวดีๆจากทาง : หนังสือพิมพ์มติชน
กลุ่ม 1 จำนวน 89 เขต และกลุ่ม 2 จำนวน 94 เขต ใช้เกณฑ์พิจารณาจาก
6 องค์ประกอบ ได้แก่ เขตพื้นที่การศึกษาเดียว เขตพื้นที่การศึกษา เขต 1
จำนวนสถานศึกษาของรัฐในสังกัด จำนวนสถานศึกษาเอกชน จำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และสภาพพื้นที่ในการปฏิบัติงาน ส่วน สพม.แบ่งเป็นสองกลุ่มเช่นเดียวกัน ใช้เกณฑ์พิจารณาจากองค์ประกอบ ดังนี้ จำนวนจังหวัด จำนวนสถานศึกษา จำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
จำนวนนักเรียน และสภาพพื้นที่ในการปฏิบัติงาน โดย สพม.กลุ่ม 1
มีจำนวน 19 เขต กลุ่ม 2 มีจำนวน 23 เขต
รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า กรอบอัตรากำลังที่กำหนดใหม่นั้น
จะประกอบด้วย ตำแหน่งเชี่ยวชาญ กลุ่มอำนวยการ กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มนโยบายและแผน กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมิน กลุ่มบริหารงานการเงินและสินทรัพย์ หน่วยตรวจสอบภายใน กลุ่มส่งเสริมสถานศึกษาเอกชน โดย สพป.กลุ่ม 1 จะมีอัตรารวม 56 อัตรา สพป.กลุ่ม 2 มี 50 อัตรา สพม.กลุ่ม 1 มี 50 อัตรา และสพม.กลุ่ม 2 มี 45 อัตรา ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องเสนอพิจารณาร่วมกับคณะทำงานของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ก่อน จากนั้นนำเสนอคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ระบบที่ดูแลเรื่องบุคลากร พิจารณาก่อนนำเสนอต่อที่ประชุม ก.ค.ศ. พิจารณาเห็นชอบต่อไป
"ทุกวันนี้กรอบอัตรากำลังที่กำหนดไว้ในเขตพื้นที่การศึกษามี 17,272 อัตรา แต่ยังไม่สามารถบรรจุได้ตามกรอบที่กำหนดไว้ หลายเขตพื้นที่การศึกษามีคนทำงานน้อยก็จะทำให้มีปัญหาในการทำงานอยู่บ้าง ฉะนั้นการกำหนดกรอบอัตรากำลังในเขตพื้นที่การศึกษาใหม่จะทำให้สามารถจัดเกลี่ยอัตรากำลังให้เหมาะสมกันในแต่ละเขต เช่น เขตพื้นที่การศึกษาใดที่อัตรากำลังมีเยอะ เมื่อมีตำแหน่งเกษียณอายุราชการก็จะนำอัตราที่ได้ไปเกลี่ยให้กับเขตพื้นที่การศึกษาอื่นที่อัตรากำลังมีน้อย" นายอนันต์ กล่าว
ขอขอบคุณข่าวดีๆจากทาง : หนังสือพิมพ์มติชน