เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2555 เผยผลการศึกษาวิจัยฮอร์โมนเมลาโทนิน สามารถยับยั้งโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน และโรคสมองเสื่อมที่พบในผู้สูงอายุและผู้ติดยาเสพติด นำไปสู่ข้อมูลในการพัฒนายาเพื่อรักษาโรคทางระบบประสาทและสมองต่อไป
ภาพจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2555 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยถึงผลการศึกษาวิจัยฮอร์โมนเมลาโทนิน ที่มีผลต่อการฟื้นฟูเซลล์สมอง ว่า เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนของมนุษย์ที่สร้างและหลั่งมาจากต่อมไพเนียล ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งอยู่บริเวณกึ่งกลางสมอง เมลาโทนินมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สามารถยับยั้งและป้องกันโรคสมองเสื่อมจากการติดสารเสพติดอย่างแอมเฟตามีน ที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ ขณะเดียวกันเมลาโทนินยังสามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนและการเจริญเติบโตของสเต็มเซลล์ระบบประสาทได้ ซึ่งผลการวิจัยที่พบจะเป็นแนวทางใหม่ให้กับวงการแพทย์และสาธารณสุข
สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับประสาทและความจำอย่างโรคพาร์กินสัน และโรคอัลไซเมอร์ ผู้ติดยาเสพติดมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคพาร์กินสันได้ง่าย เนื่องจากยาเสพติดจะมีสารแอมเฟตามีนสูงส่งผลทำให้เซลล์ประสาทโดปามีนตาย ซึ่งเป็นที่มาของโรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสัน ซึ่งจากการทดลองในหนูพบว่า การตายของเซลล์ดังกล่าวสามารถยับยั้งได้ด้วยเมลาโทนิน เนื่องจากเมลาโทนินมีคุณสมบัติในการกำจัดสารอนุมูลอิสระ ป้องกันการตายของเซลล์ประสาทโดปามีนอันเนื่องมาจากสารเสพติดได้ รวมทั้ง สามารถป้องกันยับยั้งการเสื่อมของสมองได้เช่นกัน
ข่าว-กรมประชาสัมพันธ์
ภาพจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2555 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยถึงผลการศึกษาวิจัยฮอร์โมนเมลาโทนิน ที่มีผลต่อการฟื้นฟูเซลล์สมอง ว่า เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนของมนุษย์ที่สร้างและหลั่งมาจากต่อมไพเนียล ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งอยู่บริเวณกึ่งกลางสมอง เมลาโทนินมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สามารถยับยั้งและป้องกันโรคสมองเสื่อมจากการติดสารเสพติดอย่างแอมเฟตามีน ที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ ขณะเดียวกันเมลาโทนินยังสามารถกระตุ้นการเพิ่มจำนวนและการเจริญเติบโตของสเต็มเซลล์ระบบประสาทได้ ซึ่งผลการวิจัยที่พบจะเป็นแนวทางใหม่ให้กับวงการแพทย์และสาธารณสุข
สำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับประสาทและความจำอย่างโรคพาร์กินสัน และโรคอัลไซเมอร์ ผู้ติดยาเสพติดมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคพาร์กินสันได้ง่าย เนื่องจากยาเสพติดจะมีสารแอมเฟตามีนสูงส่งผลทำให้เซลล์ประสาทโดปามีนตาย ซึ่งเป็นที่มาของโรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสัน ซึ่งจากการทดลองในหนูพบว่า การตายของเซลล์ดังกล่าวสามารถยับยั้งได้ด้วยเมลาโทนิน เนื่องจากเมลาโทนินมีคุณสมบัติในการกำจัดสารอนุมูลอิสระ ป้องกันการตายของเซลล์ประสาทโดปามีนอันเนื่องมาจากสารเสพติดได้ รวมทั้ง สามารถป้องกันยับยั้งการเสื่อมของสมองได้เช่นกัน
ข่าว-กรมประชาสัมพันธ์