น.สพ.ศักดิ์
ชัย ศรีบุญซื่อ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
(มกอช.) เปิดเผยว่า
ปัจจุบันหลายประเทศต่างหันมาให้ความสนใจในเรื่องการใช้ยาทั้งในด้านการ
กระตุ้นการเจริญเติบโตในสัตว์ (Antibiotic growth promoter ; AGP)
หรือมีระยะหยุดยาสั้นกว่าที่ฉลากแนะนำในฟาร์มปศุสัตว์กันมากขึ้น
ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมต่อข้อกำหนดของ OIE
ที่คู่ค้าอาจนำมาใช้ในการกีดกันทางการค้าปศุสัตว์และสัตว์น้ำในอนาคต มกอช.
จึงได้จัดโครงการศึกษาการดื้อยาต้านจุลชีพของแบคทีเรียที่สำคัญในสัตว์น้ำ
ขึ้น
เพื่อหาแนวทางมาตรการกำหนดแผนเฝ้าระวังและตรวจติดตามการเกิดเชื้อดื้อยาของ
ระดับประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ครบวงจร ตั้งแต่ระดับสิ่งแวดล้อม
ความปลอดภัยอาหาร และสุขภาพมนุษย์
นอกจากนี้
องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World organization for Animal
Health)
ยังได้ออกข้อกำหนดสุขภาพสัตว์ให้ประเทศสมาชิกทำการเฝ้าระวังและมีการตรวจ
ติดตามการเกิดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ควบคู่กับการตรวจติดตามปริมาณยาสัตว์
วิธีการใช้ โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องทำการเฝ้าระวังการเกิดเชื้อดื้อยาใน
Salmonella spp, Vibrio parahaemolyticus และ Listeria monocytogenes
โดยข้อมูลต่างๆที่ได้จะนำไปใช้ในการประเมินความเสี่ยง
อีกทั้งนำไปเป็นมาตรการแก้ไขและจัดการปัญหาดังกล่าวในอนาคต.