จากกรณีที่ ศธ.ออกประกาศกระทรวงฯ ปรับปฏิทินการเปิดภาคการศึกษาทุกหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาเมื่อวันที่ 14 กันยายน2555 โดย ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ลงนามในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 14 กันยายน 2555 เรื่อง ขอความร่วมมือปรับปฏิทินการเปิดภาคการศึกษาทุกหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา
โดยเหตุผลแจ้งว่าสืบเนื่องมาจากการที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเสรีทางการค้า ตลาดแรงงาน การศึกษา และอื่นๆ เพื่อเป็นการรองรับการเปิดภาคการศึกษาในระดับสากลและการเปิดประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 และเพื่อประโยชน์แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งจะใช้เวลาศึกษาในชั้นเรียนได้อย่างเต็มที่ ครบตามหลักสูตร มีเวลาเตรียมตัวเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาไม่ต้องเร่งดำเนินการรับนักศึกษา อีกทั้ง เพื่อความเป็นเอกภาพในระบบการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จึงขอความร่วมมือสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับทุกแห่งปรับปฏิทินการเปิดภาคเรียนทุกหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา เป็นช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนทั้งนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป
ในเรื่องนี้ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวการศึกษาไทย ENN ได้เข้าสัมภาษณ์ ดร.มัทนา สานติวัตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ อดีตนายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย หรือสสอท. ซึ่งอธิการบดีม.กรุงเทพได้กล่าวว่า เป็นเรื่องสมควรที่สถาบันการศึกษาไทยจะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับนานาชาติ โดยเฉพาะการที่เราจะเข้าร่วมประชาคมอาเซียนในพ.ศ.2558 นี้ ซึ่งการปรับระยะเวลาการปิด - เปิดเทอมให้สอดคล้องกันจะทำให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันได้สะดวกขึ้น
ในส่วนของมหาวิทยาลัยกรุงเทพนั้น ดร.มัทนา กล่าวว่า เราเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่เปิดหลักสูตรนานาชาติขึ้นมา และได้จัดเวลาปิด - เปิดเทอมให้สอดคล้องกับนานาชาติอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่มีปัญหาในการปรับตัว และในปีการศึกษา 2555 นี้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพก็ได้จัดการปรับเปลี่ยนไปแล้วทุกหลักสูตร โดยการใช้วิกฤติจากน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้วมาเป็นโอกาส กล่าวคือ หลังจากเกิดน้ำท่วม มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องยืดระยะเวลาการปิด - เปิดเทอมออกไปเป็นเวลา 2 เดือนอยู่แล้ว ยกตัวอย่างนักศึกษาปี 1 ขึ้นปี 2 แทนที่จะเปิดเทอมในเดือนมิถุนายน ก็ต้องเลื่อนไปเปิดเดือนสิงหาคม เพราะฉะนั้นจึงถือเป็นการปรับเปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ ส่วนการรับนักศึกษาใหม่ เราก็เปิดรับเป็น 2 ช่วงคือ เดือนมิถุนายน และเดือนสิงหาคม โดยนักศึกษาที่เข้ามาในเดือนสิงหาคมจะได้เรียน 2 วิชาไปก่อน และไปเรียนเต็มรูปแบบในเดือนสิงหาคม ตรงนี้เราเรียกว่า BU MODEL คือใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสในการปรับเปลี่ยน ไม่ต้องรอปี 2557 ก็ปรับได้เลยโดยนักเรียน นักศึกษาก็ไม่ต้องเสียเวลารอหรือเสียโอกาสในการเรียน
โดยเหตุผลแจ้งว่าสืบเนื่องมาจากการที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเสรีทางการค้า ตลาดแรงงาน การศึกษา และอื่นๆ เพื่อเป็นการรองรับการเปิดภาคการศึกษาในระดับสากลและการเปิดประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 และเพื่อประโยชน์แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งจะใช้เวลาศึกษาในชั้นเรียนได้อย่างเต็มที่ ครบตามหลักสูตร มีเวลาเตรียมตัวเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาไม่ต้องเร่งดำเนินการรับนักศึกษา อีกทั้ง เพื่อความเป็นเอกภาพในระบบการจัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จึงขอความร่วมมือสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดและในกำกับทุกแห่งปรับปฏิทินการเปิดภาคเรียนทุกหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา เป็นช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนทั้งนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป
ในเรื่องนี้ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวการศึกษาไทย ENN ได้เข้าสัมภาษณ์ ดร.มัทนา สานติวัตร อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ อดีตนายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย หรือสสอท. ซึ่งอธิการบดีม.กรุงเทพได้กล่าวว่า เป็นเรื่องสมควรที่สถาบันการศึกษาไทยจะปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับนานาชาติ โดยเฉพาะการที่เราจะเข้าร่วมประชาคมอาเซียนในพ.ศ.2558 นี้ ซึ่งการปรับระยะเวลาการปิด - เปิดเทอมให้สอดคล้องกันจะทำให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันได้สะดวกขึ้น
ในส่วนของมหาวิทยาลัยกรุงเทพนั้น ดร.มัทนา กล่าวว่า เราเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่เปิดหลักสูตรนานาชาติขึ้นมา และได้จัดเวลาปิด - เปิดเทอมให้สอดคล้องกับนานาชาติอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่มีปัญหาในการปรับตัว และในปีการศึกษา 2555 นี้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพก็ได้จัดการปรับเปลี่ยนไปแล้วทุกหลักสูตร โดยการใช้วิกฤติจากน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้วมาเป็นโอกาส กล่าวคือ หลังจากเกิดน้ำท่วม มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องยืดระยะเวลาการปิด - เปิดเทอมออกไปเป็นเวลา 2 เดือนอยู่แล้ว ยกตัวอย่างนักศึกษาปี 1 ขึ้นปี 2 แทนที่จะเปิดเทอมในเดือนมิถุนายน ก็ต้องเลื่อนไปเปิดเดือนสิงหาคม เพราะฉะนั้นจึงถือเป็นการปรับเปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ ส่วนการรับนักศึกษาใหม่ เราก็เปิดรับเป็น 2 ช่วงคือ เดือนมิถุนายน และเดือนสิงหาคม โดยนักศึกษาที่เข้ามาในเดือนสิงหาคมจะได้เรียน 2 วิชาไปก่อน และไปเรียนเต็มรูปแบบในเดือนสิงหาคม ตรงนี้เราเรียกว่า BU MODEL คือใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสในการปรับเปลี่ยน ไม่ต้องรอปี 2557 ก็ปรับได้เลยโดยนักเรียน นักศึกษาก็ไม่ต้องเสียเวลารอหรือเสียโอกาสในการเรียน
ที่มา : ENN.co.th