ที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุป 5 ปัจจัย กำหนดทิศทางการศึกษาพื้นฐานในอนาคต เตรียมทำแผนยุทธศาสตร์ภาคปฏิบัติ...
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีนายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นประธาน ที่ประชุมได้ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต ซึ่งได้ข้อสรุปใน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.ความคาดหวังตัวผู้เรียนยังต้องเน้นความดีและความเก่ง นักเรียนต้องมีสติ ปัญญาและพัฒนาการต่างๆ ควบคู่กันไป และการจัดการศึกษาควรจะย้อนกลับไปสู่หลักการพื้นฐานการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนใน
เรื่องการเรียนรู้เพื่อรู้ การเรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันและ การเรียนรู้ที่จะเป็น 2. หลักสูตรการเรียนการสอนต้องจัดให้สอดคล้องกับวัย ของผู้เรียน รวมถึงการจัดการเรียนการสอนต้องทบทวนว่าจำนวนคาบต่อวันมากเกินไปหรือไม่ และควรจัดสรรการเรียนภาคปฏิบัติให้เพียงพอ 3.ครู ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาผู้เรียน แม้จะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสอนแต่ไม่ได้ทำให้ความสำคัญของครูลดน้อยลงไป ฉะนั้นควรส่งเสริมให้ครูได้ เรียนจากเพื่อนครูเพราะเป็นวิธีการที่ก่อให้เกิดประโยชน์มาก ส่วนระบบการให้ความดีความชอบ การเลื่อนวิทยฐานะต้องสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า 4.สถานศึกษา ที่ประชุมเห็นด้วยกับการจำแนกสถานศึกษาตามศักยภาพ ความพร้อมและบริบทต่างๆ แต่ควรมีการ บริหารจัดการที่หลากหลายโดยให้อิสระและความคล่องตัวแก่โรงเรียนที่มีศักยภาพสูง ทั้งต้องแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กให้เป็นรูปธรรม และ 5.การ บริหารจัดการ จะทำอย่างไรเพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อให้ได้รับโอกาสและประโยชน์ในการจัดสรร ทรัพยากร ทั้งนี้ สพฐ.จะนำข้อเสนอและข้อคิดเห็นของบอร์ด กพฐ.ไปจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ภาคปฏิบัติ และนำเสนอที่ประชุม กพฐ.อีกครั้ง ส่วนการพิจารณาจำนวนคาบและชั่วโมงเรียนของนักเรียนนั้นยังไม่มีข้อสรุป เพียงแต่ สพฐ.ต้องนำไปทบทวน.
ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีนายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นประธาน ที่ประชุมได้ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต ซึ่งได้ข้อสรุปใน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.ความคาดหวังตัวผู้เรียนยังต้องเน้นความดีและความเก่ง นักเรียนต้องมีสติ ปัญญาและพัฒนาการต่างๆ ควบคู่กันไป และการจัดการศึกษาควรจะย้อนกลับไปสู่หลักการพื้นฐานการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนใน
เรื่องการเรียนรู้เพื่อรู้ การเรียนรู้เพื่อนำไปปฏิบัติ การเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันและ การเรียนรู้ที่จะเป็น 2. หลักสูตรการเรียนการสอนต้องจัดให้สอดคล้องกับวัย ของผู้เรียน รวมถึงการจัดการเรียนการสอนต้องทบทวนว่าจำนวนคาบต่อวันมากเกินไปหรือไม่ และควรจัดสรรการเรียนภาคปฏิบัติให้เพียงพอ 3.ครู ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาผู้เรียน แม้จะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสอนแต่ไม่ได้ทำให้ความสำคัญของครูลดน้อยลงไป ฉะนั้นควรส่งเสริมให้ครูได้ เรียนจากเพื่อนครูเพราะเป็นวิธีการที่ก่อให้เกิดประโยชน์มาก ส่วนระบบการให้ความดีความชอบ การเลื่อนวิทยฐานะต้องสอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวอีกว่า 4.สถานศึกษา ที่ประชุมเห็นด้วยกับการจำแนกสถานศึกษาตามศักยภาพ ความพร้อมและบริบทต่างๆ แต่ควรมีการ บริหารจัดการที่หลากหลายโดยให้อิสระและความคล่องตัวแก่โรงเรียนที่มีศักยภาพสูง ทั้งต้องแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กให้เป็นรูปธรรม และ 5.การ บริหารจัดการ จะทำอย่างไรเพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อให้ได้รับโอกาสและประโยชน์ในการจัดสรร ทรัพยากร ทั้งนี้ สพฐ.จะนำข้อเสนอและข้อคิดเห็นของบอร์ด กพฐ.ไปจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ภาคปฏิบัติ และนำเสนอที่ประชุม กพฐ.อีกครั้ง ส่วนการพิจารณาจำนวนคาบและชั่วโมงเรียนของนักเรียนนั้นยังไม่มีข้อสรุป เพียงแต่ สพฐ.ต้องนำไปทบทวน.
ขอขอบคุณข่าวจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ