“ดร.รุ่ง” ชี้ การศึกษาไทยวิกฤตหนัก วิชาชีพครูอยู่ในอันดับท้ายๆ ที่คนจะเลือก แนะทุกคนช่วยปฏิรูปการศึกษากลับไปบ้านเกิดของตนใช้ความรู้สอนลูกหลานเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ดร.รุ่ง แก้วแดง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
กล่าวระหว่างปาฐกถาพิเศษ วชิรบารมี “ทิศทางการศึกษาไทยภายใต้ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2” มีใจความตอนหนึ่ง ว่า ประเทศไทยเริ่มจัดการศึกษาในระบบพร้อมๆ กับประเทศญี่ปุ่น และมีการพัฒนาการศึกษามาต่อเนื่อง จนในปี 2540 มีการตรวจสอบ พบว่า การศึกษาไทยเป็นปัญหาใหญ่ เพราะจำนวนคะแนนเฉลี่ยของคนไทยต่ำมาก ในขณะที่กำลังคนในการศึกษาก็มีปัญหา คือ วิชาชีพครูถดถอยลงเรื่อยๆ จากอดีตที่มีการคัดเลือกคนที่เรียนได้ที่ 1 มาเป็นครู แต่ปัจจุบัน วิชาชีพครูอยู่ในอันดับท้ายๆ ที่คนจะเลือก และมักเป็นผู้ที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ ในขณะที่ประเทศมาเลเซีย เขาให้ความสำคัญกับวิชาชีพครูมาก ให้การสนับสนุน ไม่ว่าจะเรื่องเงินเดือนครูก็สูงกว่าข้าราชการอื่นถึง 15% และอย่างที่ประเทศจีน ก็ให้การยกย่องครูมาก เหมือนที่ไทยเคยยกย่องครูเหมือนในอดีต แต่ปัจจุบันวิชาชีพครูถูกมองข้าม แม้แต่สำนักงบประมาณ ยังบอกว่า ไม่มีเงินให้เพราะเป็นคนกลุ่มใหญ่ ขณะที่ บริษัทที่ปรึกษาแมคแคนซี่ ได้ทำการวิเคราะห์ และจ้างอาจารย์มหาวิทยาลัยดังของโลกมาทำการศึกษา สรุปว่า ถ้าเราจะยกระดับการศึกษาได้ต้องมีระบบการเมืองที่ต้องนิ่งอย่างน้อย 8 ปี เช่น ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และ เวียดนาม และต้องมีผู้นำทางการเมืองที่มีวิสัยทัศน์ ในการปฏิรูปการศึกษา ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการ ต้องมีนักการศึกษาที่เป็นผู้นำในการปฏิรูป และขับเครื่องการศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง แต่ประเทศไทยไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย เห็นได้จากรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เปลี่ยนบ่อยมาก และนักการศึกษาส่วนใหญ่ก็มีแต่พูด แต่ไม่ลงมือทำ
ดร.รุ่ง กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การศึกษาไทยกำลังวิกฤตหนัก ทำอย่างไรที่จะให้ทุกคนหันมาร่วมปฏิรูปการศึกษา สร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศไทย วิธีที่ง่ายที่สุด คือ กลับไปบ้านเกิด ใช้ความรู้ ประสบการณ์และเครือข่ายในการช่วยลูกหลานของเรา ทั้งนี้ การปฏิรูปการศึกษาควรเน้นปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วนร่วมและตั้งเป้าหมายที่มีพลัง และส่งเสริมการประกันคุณภาพภายในให้เป็นวัฒนธรรมคุณภาพ.
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
ดร.รุ่ง แก้วแดง อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
กล่าวระหว่างปาฐกถาพิเศษ วชิรบารมี “ทิศทางการศึกษาไทยภายใต้ การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2” มีใจความตอนหนึ่ง ว่า ประเทศไทยเริ่มจัดการศึกษาในระบบพร้อมๆ กับประเทศญี่ปุ่น และมีการพัฒนาการศึกษามาต่อเนื่อง จนในปี 2540 มีการตรวจสอบ พบว่า การศึกษาไทยเป็นปัญหาใหญ่ เพราะจำนวนคะแนนเฉลี่ยของคนไทยต่ำมาก ในขณะที่กำลังคนในการศึกษาก็มีปัญหา คือ วิชาชีพครูถดถอยลงเรื่อยๆ จากอดีตที่มีการคัดเลือกคนที่เรียนได้ที่ 1 มาเป็นครู แต่ปัจจุบัน วิชาชีพครูอยู่ในอันดับท้ายๆ ที่คนจะเลือก และมักเป็นผู้ที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ ในขณะที่ประเทศมาเลเซีย เขาให้ความสำคัญกับวิชาชีพครูมาก ให้การสนับสนุน ไม่ว่าจะเรื่องเงินเดือนครูก็สูงกว่าข้าราชการอื่นถึง 15% และอย่างที่ประเทศจีน ก็ให้การยกย่องครูมาก เหมือนที่ไทยเคยยกย่องครูเหมือนในอดีต แต่ปัจจุบันวิชาชีพครูถูกมองข้าม แม้แต่สำนักงบประมาณ ยังบอกว่า ไม่มีเงินให้เพราะเป็นคนกลุ่มใหญ่ ขณะที่ บริษัทที่ปรึกษาแมคแคนซี่ ได้ทำการวิเคราะห์ และจ้างอาจารย์มหาวิทยาลัยดังของโลกมาทำการศึกษา สรุปว่า ถ้าเราจะยกระดับการศึกษาได้ต้องมีระบบการเมืองที่ต้องนิ่งอย่างน้อย 8 ปี เช่น ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และ เวียดนาม และต้องมีผู้นำทางการเมืองที่มีวิสัยทัศน์ ในการปฏิรูปการศึกษา ประกอบกับกระทรวงศึกษาธิการ ต้องมีนักการศึกษาที่เป็นผู้นำในการปฏิรูป และขับเครื่องการศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง แต่ประเทศไทยไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย เห็นได้จากรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เปลี่ยนบ่อยมาก และนักการศึกษาส่วนใหญ่ก็มีแต่พูด แต่ไม่ลงมือทำ
ดร.รุ่ง กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การศึกษาไทยกำลังวิกฤตหนัก ทำอย่างไรที่จะให้ทุกคนหันมาร่วมปฏิรูปการศึกษา สร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศไทย วิธีที่ง่ายที่สุด คือ กลับไปบ้านเกิด ใช้ความรู้ ประสบการณ์และเครือข่ายในการช่วยลูกหลานของเรา ทั้งนี้ การปฏิรูปการศึกษาควรเน้นปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วนร่วมและตั้งเป้าหมายที่มีพลัง และส่งเสริมการประกันคุณภาพภายในให้เป็นวัฒนธรรมคุณภาพ.
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์