29 ส.ค. 2555

[ข่าว] - “ศรีปทุม” ตั้งเป้า 5 ปีติดท๊อปไฟว์มหาวิทยาลัยไซเบอร์ระดับอาเซียน


UploadImage


“ระบบ อีเลิร์นนิ่ง (E-Learning) ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม จะต้องเป็นระดับเวิลด์คลาส ซึ่งหมายถึงเป็นระบบการเรียนอีเลิร์นนิ่งมาตรฐานระดับโลก และทั่วโลกสามารถเข้าใช้งานได้ทุกที่” คำกล่าวของ ผศ.ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
UploadImage

ในปี 2554 ม.ศรีปทุมได้รับรางวัลชนะเลิศการ      จัดการอีเลิร์นนิ่ง ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นสิ่งที่การันตีได้ว่าการเป็นอีเลิร์นนิ่งระดับเวิลด์คลาสไม่ไกลเกิน ไป

ผศ.ดร.วิรัช กล่าวว่า อีเลิร์นนิ่ง คือเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ซึ่ง ม.ศรีปทุมกำหนดเรื่อง “อีเลิร์นนิ่ง” เป็นยุทธศาสตร์หลัก และตั้งเป้าภายใน 5 ปี จะกลายเป็นมหาวิทยาลัยด้านไอซีทีที่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของมหาวิทยาลัยในแถบอาเซียน

เส้นทางการเป็นมหาวิทยาลัยด้านไอซีทีของ ม.ศรีปทุมเริ่มขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว และมีการลงทุนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเรื่องอีเลิร์นนิ่งเพิ่งเป็นที่ยอมรับในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

หลังการเรียนรู้แบบ อีเลิร์นนิ่ง เป็นที่ยอมรับ ม.ศรี ปทุมได้ตั้ง “สำนักการจัด การศึกษาออนไลน์” หรือ    Office of Online   
Education : OOE ขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2553 เพื่อดูแลเรื่องการศึกษาออนไลน์ และรับผิดชอบการทำอีเลิร์นนิ่งผ่าน www. e-learning.spu.ac.th

“วัตถุประสงค์ของการทำอีเลิร์นนิ่งของ ม.ศรีปทุมวันนี้ คือ ใช้เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการเสริมความรู้ และทบทวนบทเรียน โดยข้อมูลที่นำเสนอในอีเลิร์นนิ่งจะเสมือนเป็นห้องเรียนจริง เพราะมีระบบที่ให้นักศึกษาสามารถทบทวนข้อมูลที่เรียนไปแล้ว และสามารถทำข้อสอบผ่านระบบออนไลน์ได้”

ผศ.ดร.วิรัช กล่าวต่อว่า ระบบอีเลิร์นนิ่งของ ม.ศรีปทุมกำลังจะเรียกใหม่เป็น เอ็มเลิร์นนิ่ง (M-Learning) มาจาก Mobile Learning ซึ่งเปิดใช้งานบนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ได้ทุกแพลตฟอร์ม ทั้งไอโอเอส ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และพร้อมจะรองรับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 ที่กำลังจะเปิดตัว

สำหรับเนื้อหาวิชาเรียนในระบบอีเลิร์นนิ่งของ ม.ศรีปทุมมีครบ 11 คณะ เกือบทุก   สาขาวิชาที่เรียนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ปัจจุบันอาจารย์ของ ม.ศรีปทุม 80% เข้ามาใช้งานและสร้างเนื้อหาในระบบอีเลิร์นนิ่ง ยกเว้นบางวิชาที่ไม่นำเข้าระบบอีเลิร์นนิ่ง เช่น วิชาสัมมนา และวิชาวิจัย เนื่องจาก   ไม่เหมาะสมที่จะทำเพราะเป็นวิชาที่ต้องคุยตัวต่อตัว

ปัจจุบัน ม.ศรีปทุมลงทุนเรื่องโครง สร้างไอซีทีเพื่อเดินหน้าอีเลิร์นนิ่งไปแล้วกว่า 100 ล้านบาท โดยปีหน้าตั้งเป้าจะเปิดหลักสูตรมหาบัณฑิตออนไลน์ที่เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต

“สิ่งที่คาดหวังว่าจะได้กลับมาจากการลงทุนกว่าร้อยล้านบาท คือ มุมมองจากสายตาของประชาชนทั่วไปว่า ม.ศรีปทุมเป็นสถาบันการศึกษาคุณภาพที่สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต” ผศ.ดร.วิรัช กล่าว.


พันธมิตร “อีเลิร์นนิ่ง ม.ศรีปทุม”

สำหรับการทำระบบอีเลิร์นนิ่งของ ม.ศรีปทุม มีพันธมิตรร่วมดำเนินงาน ประกอบด้วย บริษัท เดลล์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด รับหน้าที่จัดทำโซลูชั่นอีเลิร์นนิ่ง พร้อมพัฒนาระบบอีเลิร์นนิ่งให้รองรับการใช้งานได้หลายแพลตฟอร์ม ทั้ง ไอโอเอส แอนดรอยด์ และวินโดวส์ 8 เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของนักศึกษา ส่วนเอส เอส เอ เน็ตเวิร์ค (ประเทศไทย) ทำหน้าที่วางโครงสร้างพื้นฐานไอทีให้กับมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการใช้งานของนักศึกษาได้พร้อม ๆ กันครั้งละหลายหมื่นคน ซึ่งจากการทดสอบ พบว่า นักศึกษาสามารถเข้าใช้งานระบบอีเลิร์นนิ่งได้พร้อมกัน 3 หมื่นคน.

“อีเลิร์นนิ่ง-ม.ศรีปทุม” พร้อมรับเปิดอาเซียน

นายวรสรวง ดวงจินดา ผู้อำนวยการ สำนักการจัดการศึกษาออนไลน์ (Office of Online Education :OOE) กล่าวว่า ม.ศรีปทุม มีบริการอีเลิร์นนิ่งในทุกคณะโดยใช้ซอฟต์แวร์ระบบมูเดิ้ล (Moodle– Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment) สร้างคอร์สแวร์อีเลิร์นนิ่ง เพื่อรองรับการเรียนการสอนของอาจารย์ และระบบบันทึกการสอนในห้องเรียนอัตโนมัติ ตั้งแต่ปี 2554 และจากการเก็บข้อมูลพบว่า ในปี 2554 มีคนเข้าใช้งานเว็บไซต์ www.e-learning.spu.ac.th กว่า 1 แสนราย โดยจำนวนนี้มีนักศึกษาเข้ามาใช้งานเป็นประจำถึง 60% สำหรับเป้าหมายการเข้าใช้งานในปีนี้ตั้งไว้ที่ 1.5 แสนราย ขณะนี้ยอดการใช้งานครึ่งปีที่ผ่านมา (ม.ค.-มิ.ย.55) อยู่ที่ 60,000 ราย และมีจำนวนนักศึกษาเข้าเว็บไซต์ซ้ำถึง 65%

“การเข้าใช้งานระบบอีเลิร์นนิ่งของ ม.ศรีปทุม จะมีรหัสผ่านเพื่อความปลอดภัย และกำหนดระดับสิทธิการเข้าดูข้อมูลที่แตกต่างกัน เช่น สิทธิของนักศึกษาจะสามารถเข้าดูอีเลิร์นนิ่งของรายวิชาที่ลงทะเบียนได้เท่า นั้น”

นายวรสรวง กล่าวต่อว่า หลักการใช้งานของ อีเลิร์นนิ่ง คือ นักศึกษาสามารถเข้าใช้งานอีเลิร์นนิ่งเพื่อทบทวนบทเรียนที่ไหนก็ได้ และสามารถควบคุมการนำเสนอข้อมูลได้เอง พร้อมทั้งมีเว็บบอร์ดให้นักศึกษาเข้ามาตั้งคำถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจโดยมี อาจารย์ผู้สอนเข้าไปตอบ เพื่อชี้แนะให้นักศึกษาโดยไม่ต้องรอถามในห้องเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้บ่งบอกว่าโลกการเรียนรู้ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว

จากการเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานอีเลิร์นนิ่งม.ศรีปทุม พบว่า ในปี 2554 มีผู้เข้าชมเว็บไซต์ e-learning.spu.ac.th จากทั่วโลก ดังนั้น ถ้าเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economic Community :AEC) ในปี 2558 ระบบอีเลิร์นนิ่งของมหาวิทยาลัยศรีปทุมก็รองรับการเรียนรู้อย่างไร้ขีด จำกัด.

ที่มา - เดลินิวส์ออนไลน์