3 ก.ค. 2555

[ข่าว] - หวั่นกวดวิชาพุ่ง ถ้าจัดสอบGAT-PAT 2 ครั้งติด



นายพงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม ประธานคณะทำงานแอดมิสชั่นส์ฟอรั่มของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า
กรณีที่ประชุม ทปอ.มีมติยืนยันปฏิทินการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการคัดเลือกนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิสชั่นส์กลาง ประจำปีการศึกษา 2556 ให้ล้อตามปฏิทินการรับสมัครปี 2555 และเพื่อปรับปรุงปฏิทินให้สอดรับกับการเลื่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ของมหาวิทยาลัยตามที่ ทปอ.เคยมีมติ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยปฏิทินแอดมิสชั่นส์ปีการศึกษา 2557 ทั้ง 2 รูปแบบ ที่ประชุม ทปอ.ให้ตน และคณะทำงานวิเคราะห์ข้อดี และข้อเสีย ได้แก่ 1.การสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาชีพ/ ทางวิชาการ (PAT) ครั้งที่ 1/2557 สอบเดือนตุลาคม 2556, สอบ 7 วิชาสามัญ เดือนมกราคม 2557 ส่วนแอดมิสชั่นส์กลาง จำหน่ายระเบียบการคัดเลือก วันที่ 15-28 พฤษภาคม, รับสมัคร วันที่ 18-28 พฤษภาคม ชำระเงินค่าสมัคร วันที่ 18-30 พฤษภาคม, ตรวจสอบคะแนนที่ใช้ในการคัดเลือก วันที่ 4-6 มิถุนายน, ประกาศผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย วันที่ 13 มิถุนายน, สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย วันที่ 23-25 มิถุนายน, ประกาศผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา วันที่ 30 มิถุนายนนายพงษ์อินทร์กล่าวว่า ส่วนรูปแบบที่ 2 เริ่มจากการสอบ 7 วิชาสามัญ เดือนมกราคม 2557, สอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1/2557 เดือนมีนาคม 2557, GAT และ PAT ครั้งที่ 2/2557 เดือนพฤษภาคม ส่วนแอดมิสชั่นส์กลาง จำหน่ายระเบียบการคัดเลือก วันที่ 5-18 มิถุนายน, รับสมัคร วันที่ 8-18 มิถุนายน, ชำระเงินค่าสมัคร วันที่ 8-20 มิถุนายน, ตรวจสอบคะแนนที่ใช้ในการคัดเลือก วันที่ 28-30 มิถุนายน, ประกาศผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย วันที่ 4 กรกฎาคม, สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย วันที่ 14-16 กรกฎาคม, ประกาศผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา วันที่ 24 กรกฎาคม"ข้อดี และข้อเสียของการปรับปรุงปฏิทินให้สอดรับกับการเลื่อนเปิดเทอมนั้น ยังต้องหารือกับฝ่ายต่างๆ อีกครั้ง เพื่อสรุปให้ชัดเจน เบื้องต้นรูปแบบที่ 1 ถือว่าคล้ายปฏิทินเดิมที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ ข้อดีคือเมื่อกระบวนการคัดเลือกเข้าเรียนมหาวิทยาลัยแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน จะมีช่วงระหว่างรอเปิดเทอม แต่ละมหาวิทยาลัยมีเวลาเตรียมความพร้อมด้านภาษา การปรับพื้นฐานนักศึกษาเพื่อเตรียมเรียนหลักสูตรต่างๆ ส่วนข้อเสียคือการสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 ยังสอบเดือนตุลาคม ที่ผ่านมาหลายฝ่ายพยายามแก้ปัญหาเด็กหนีเรียนไปกวดวิชา หรือเด็กเรียนไม่จบหลักสูตร แต่ต้องสอบ GAT และ PAT ส่วนรูปแบบที่ 2 มีข้อดีหลายส่วน อาทิ จัดสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 เดือนมีนาคม และครั้งที่ 2 เดือนพฤษภาคม เป็นช่วงเวลาที่เด็กเรียนจบหลักสูตรแล้ว จะช่วยแก้ปัญหาเด็กจนเรียนในห้องจนจบหลักสูตร ขณะนี้ส่วนใหญ่สนับสนุนรูปแบบที่ 2 แต่มีสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ท้วงติงมาการจัดสอบ GAT และ PAT ตามแบบที่ 2 นั้นใกล้เคียงเกินไป เร็วๆ นี้ ผม และคณะทำงานจะหารือกับ สทศ.ถึงทางออก เพื่อหาข้อยุติเสนอ ทปอ.อย่างไรก็ตาม ยังต้องหารือ และวิเคราะห์ผลกระทบปฏิทินทั้ง 2 รูปแบบอีกครั้ง คาดว่าจะเสนอ ทปอ.ได้ทันเดือนสิงหาคม" นายพงษ์อินทร์กล่าว

นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการปรับปรุงปฏิทินให้สอดรับกับการเลื่อนเปิดภาคเรียน เรื่องนี้ ทปอ.ได้หารือมาหลายครั้ง แต่ต้องรอดูผลวิเคราะห์ข้อดี และข้อเสียก่อน ส่วนตัวเห็นว่าการปรับปรุงปฏิทินควรคำนึงถึงแนวทางที่จะเกิดผลกระทบต่อนักศึกษาให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ อยากเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เข้าร่วมหารือด้วย เพื่อให้ระบบที่จะปรับแก้ออกมาในทิศทางเดียวกัน 

นายพงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า ส่วนใหญ่เห็นว่ากรอบแนวทางที่คณะทำงานแอดมิสชั่นส์ฟอรั่มเสนอมานั้น เดินมาถูกทางแล้ว แต่ได้เสนอว่าควรกลับไปปรับเปลี่ยนระยะเวลา รวมทั้ง นำแนวทางที่ 1 และ 2 มารวมกัน โดยให้กระบวนการคัดเลือกนักศึกษาเสร็จภายในเดือนมิถุนายน รวมทั้ง ให้ศึกษาข้อดีข้อเสียของการเลื่อนเปิดภาคเรียนด้วย

นายประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กล่าวว่า การที่สถาบันอุดมศึกษาเลื่อนเปิดภาคเรียนช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ทำให้มีเวลาประสานกับ สทศ.เพื่อเตรียมความพร้อมจัดสอบ 7 วิชาสามัญ และการสอบ GAT และ PAT ให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมากขึ้น ขณะเดียวกัน การเลื่อนจัดสอบ GAT และ PAT ครั้งแรกไปเป็นเดือนมีนาคม เท่ากับนักเรียนจะมีความรู้ครบหลักสูตร ฉะนั้น การปรับปฏิทินการแอดมิสชั่นส์ให้สอดคล้องกับการเลื่อนเปิดภาคเรียนจึงสมเหตุสมผลพอสมควร แต่ที่ต้องระวังคือการสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 และ 2 มีเวลาห่างเพียง 2 เดือน ไม่แน่ใจว่าเด็กจะจัดระเบียบความรู้ของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน และอาจส่งผลให้นักเรียนแห่ไปเรียนกวดวิชาเพิ่ม" นายประสาทกล่าว

นายสัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ.กล่าวว่า ไม่มีปัญหาเรื่องการเลื่อนปฏิทินแอดมิสชั่นส์ เพราะ สทศ.มีหน้าที่บริการจัดสอบอยู่แล้ว หากรู้ปฏิทินล่วงหน้า จะเตรียมการจัดสอบได้ทัน โดยส่วนตัวเห็นด้วยที่ ทปอ.เลื่อนปฏิทินการรับตรงไปเป็นเดือนมกราคม เพื่อให้เด็กได้เรียนครบหลักสูตร อย่างไรก็ตาม กังวลเรื่องการสอบ GATและ PAT ครั้งที่ 1 เดือนมีนาคม 2557 จะกระชั้นกับการสอบครั้งที่ 2 เดือนพฤษภาคม เกินไป ไม่แน่ใจว่าผู้ปกครอง และนักเรียนจะกังวลหรือไม่ ที่สำคัญเด็กอาจตัดสินใจสอบทั้ง 2 รอบ เพราะหากผลสอบครั้งแรกไม่ดีก็สอบใหม่ทันที

นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการปรับปรุงปฏิทินให้สอดรับกับการเลื่อนเปิดภาคเรียน เรื่องนี้ ทปอ.ได้หารือมาหลายครั้ง แต่ต้องรอดูผลวิเคราะห์ข้อดี และข้อเสียก่อน ส่วนตัวเห็นว่าการปรับปรุงปฏิทินควรคำนึงถึงแนวทางที่จะเกิดผลกระทบต่อนักศึกษาให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ อยากเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เข้าร่วมหารือด้วย เพื่อให้ระบบที่จะปรับแก้ออกมาในทิศทางเดียวกัน 
นายพงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า ส่วนใหญ่เห็นว่ากรอบแนวทางที่คณะทำงานแอดมิสชั่นส์ฟอรั่มเสนอมานั้น เดินมาถูกทางแล้ว แต่ได้เสนอว่าควรกลับไปปรับเปลี่ยนระยะเวลา รวมทั้ง นำแนวทางที่ 1 และ 2 มารวมกัน โดยให้กระบวนการคัดเลือกนักศึกษาเสร็จภายในเดือนมิถุนายน รวมทั้ง ให้ศึกษาข้อดีข้อเสียของการเลื่อนเปิดภาคเรียนด้วย
นายประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กล่าวว่า การที่สถาบันอุดมศึกษาเลื่อนเปิดภาคเรียนช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ทำให้มีเวลาประสานกับ สทศ.เพื่อเตรียมความพร้อมจัดสอบ 7 วิชาสามัญ และการสอบ GAT และ PAT ให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมากขึ้น ขณะเดียวกัน การเลื่อนจัดสอบ GAT และ PAT ครั้งแรกไปเป็นเดือนมีนาคม เท่ากับนักเรียนจะมีความรู้ครบหลักสูตร ฉะนั้น การปรับปฏิทินการแอดมิสชั่นส์ให้สอดคล้องกับการเลื่อนเปิดภาคเรียนจึงสมเหตุสมผลพอสมควร แต่ที่ต้องระวังคือการสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 และ 2 มีเวลาห่างเพียง 2 เดือน ไม่แน่ใจว่าเด็กจะจัดระเบียบความรู้ของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน และอาจส่งผลให้นักเรียนแห่ไปเรียนกวดวิชาเพิ่ม" นายประสาทกล่าว
นายสัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ.กล่าวว่า ไม่มีปัญหาเรื่องการเลื่อนปฏิทินแอดมิสชั่นส์ เพราะ สทศ.มีหน้าที่บริการจัดสอบอยู่แล้ว หากรู้ปฏิทินล่วงหน้า จะเตรียมการจัดสอบได้ทัน โดยส่วนตัวเห็นด้วยที่ ทปอ.เลื่อนปฏิทินการรับตรงไปเป็นเดือนมกราคม เพื่อให้เด็กได้เรียนครบหลักสูตร อย่างไรก็ตาม กังวลเรื่องการสอบ GATและ PAT ครั้งที่ 1 เดือนมีนาคม 2557 จะกระชั้นกับการสอบครั้งที่ 2 เดือนพฤษภาคม เกินไป ไม่แน่ใจว่าผู้ปกครอง และนักเรียนจะกังวลหรือไม่ ที่สำคัญเด็กอาจตัดสินใจสอบทั้ง 2 รอบ เพราะหากผลสอบครั้งแรกไม่ดีก็สอบใหม่ทันที
นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการปรับปรุงปฏิทินให้สอดรับกับการเลื่อนเปิดภาคเรียน เรื่องนี้ ทปอ.ได้หารือมาหลายครั้ง แต่ต้องรอดูผลวิเคราะห์ข้อดี และข้อเสียก่อน ส่วนตัวเห็นว่าการปรับปรุงปฏิทินควรคำนึงถึงแนวทางที่จะเกิดผลกระทบต่อนักศึกษาให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ อยากเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เข้าร่วมหารือด้วย เพื่อให้ระบบที่จะปรับแก้ออกมาในทิศทางเดียวกัน นายพงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า ส่วนใหญ่เห็นว่ากรอบแนวทางที่คณะทำงานแอดมิสชั่นส์ฟอรั่มเสนอมานั้น เดินมาถูกทางแล้ว แต่ได้เสนอว่าควรกลับไปปรับเปลี่ยนระยะเวลา รวมทั้ง นำแนวทางที่ 1 และ 2 มารวมกัน โดยให้กระบวนการคัดเลือกนักศึกษาเสร็จภายในเดือนมิถุนายน รวมทั้ง ให้ศึกษาข้อดีข้อเสียของการเลื่อนเปิดภาคเรียนด้วยนายประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กล่าวว่า การที่สถาบันอุดมศึกษาเลื่อนเปิดภาคเรียนช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ทำให้มีเวลาประสานกับ สทศ.เพื่อเตรียมความพร้อมจัดสอบ 7 วิชาสามัญ และการสอบ GAT และ PAT ให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมากขึ้น ขณะเดียวกัน การเลื่อนจัดสอบ GAT และ PAT ครั้งแรกไปเป็นเดือนมีนาคม เท่ากับนักเรียนจะมีความรู้ครบหลักสูตร ฉะนั้น การปรับปฏิทินการแอดมิสชั่นส์ให้สอดคล้องกับการเลื่อนเปิดภาคเรียนจึงสมเหตุสมผลพอสมควร แต่ที่ต้องระวังคือการสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 และ 2 มีเวลาห่างเพียง 2 เดือน ไม่แน่ใจว่าเด็กจะจัดระเบียบความรู้ของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน และอาจส่งผลให้นักเรียนแห่ไปเรียนกวดวิชาเพิ่ม" นายประสาทกล่าวนายสัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ.กล่าวว่า ไม่มีปัญหาเรื่องการเลื่อนปฏิทินแอดมิสชั่นส์ เพราะ สทศ.มีหน้าที่บริการจัดสอบอยู่แล้ว หากรู้ปฏิทินล่วงหน้า จะเตรียมการจัดสอบได้ทัน โดยส่วนตัวเห็นด้วยที่ ทปอ.เลื่อนปฏิทินการรับตรงไปเป็นเดือนมกราคม เพื่อให้เด็กได้เรียนครบหลักสูตร อย่างไรก็ตาม กังวลเรื่องการสอบ GATและ PAT ครั้งที่ 1 เดือนมีนาคม 2557 จะกระชั้นกับการสอบครั้งที่ 2 เดือนพฤษภาคม เกินไป ไม่แน่ใจว่าผู้ปกครอง และนักเรียนจะกังวลหรือไม่ ที่สำคัญเด็กอาจตัดสินใจสอบทั้ง 2 รอบ เพราะหากผลสอบครั้งแรกไม่ดีก็สอบใหม่ทันทีนายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการปรับปรุงปฏิทินให้สอดรับกับการเลื่อนเปิดภาคเรียน เรื่องนี้ ทปอ.ได้หารือมาหลายครั้ง แต่ต้องรอดูผลวิเคราะห์ข้อดี และข้อเสียก่อน ส่วนตัวเห็นว่าการปรับปรุงปฏิทินควรคำนึงถึงแนวทางที่จะเกิดผลกระทบต่อนักศึกษาให้น้อยที่สุด ทั้งนี้ อยากเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เข้าร่วมหารือด้วย เพื่อให้ระบบที่จะปรับแก้ออกมาในทิศทางเดียวกัน 
นายพงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า ส่วนใหญ่เห็นว่ากรอบแนวทางที่คณะทำงานแอดมิสชั่นส์ฟอรั่มเสนอมานั้น เดินมาถูกทางแล้ว แต่ได้เสนอว่าควรกลับไปปรับเปลี่ยนระยะเวลา รวมทั้ง นำแนวทางที่ 1 และ 2 มารวมกัน โดยให้กระบวนการคัดเลือกนักศึกษาเสร็จภายในเดือนมิถุนายน รวมทั้ง ให้ศึกษาข้อดีข้อเสียของการเลื่อนเปิดภาคเรียนด้วยนายประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กล่าวว่า การที่สถาบันอุดมศึกษาเลื่อนเปิดภาคเรียนช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ทำให้มีเวลาประสานกับ สทศ.เพื่อเตรียมความพร้อมจัดสอบ 7 วิชาสามัญ และการสอบ GAT และ PAT ให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมากขึ้น ขณะเดียวกัน การเลื่อนจัดสอบ GAT และ PAT ครั้งแรกไปเป็นเดือนมีนาคม เท่ากับนักเรียนจะมีความรู้ครบหลักสูตร ฉะนั้น การปรับปฏิทินการแอดมิสชั่นส์ให้สอดคล้องกับการเลื่อนเปิดภาคเรียนจึงสมเหตุสมผลพอสมควร แต่ที่ต้องระวังคือการสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1 และ 2 มีเวลาห่างเพียง 2 เดือน ไม่แน่ใจว่าเด็กจะจัดระเบียบความรู้ของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน และอาจส่งผลให้นักเรียนแห่ไปเรียนกวดวิชาเพิ่ม" นายประสาทกล่าวนายสัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการ สทศ.กล่าวว่า ไม่มีปัญหาเรื่องการเลื่อนปฏิทินแอดมิสชั่นส์ เพราะ สทศ.มีหน้าที่บริการจัดสอบอยู่แล้ว หากรู้ปฏิทินล่วงหน้า จะเตรียมการจัดสอบได้ทัน โดยส่วนตัวเห็นด้วยที่ ทปอ.เลื่อนปฏิทินการรับตรงไปเป็นเดือนมกราคม เพื่อให้เด็กได้เรียนครบหลักสูตร อย่างไรก็ตาม กังวลเรื่องการสอบ GATและ PAT ครั้งที่ 1 เดือนมีนาคม 2557 จะกระชั้นกับการสอบครั้งที่ 2 เดือนพฤษภาคม เกินไป ไม่แน่ใจว่าผู้ปกครอง และนักเรียนจะกังวลหรือไม่ ที่สำคัญเด็กอาจตัดสินใจสอบทั้ง 2 รอบ เพราะหากผลสอบครั้งแรกไม่ดีก็สอบใหม่ทันที



Credit : matichon.co.th