10 ส.ค. 2555

[กิจกรรม ทุน] - ม.ขอนแก่น มีทุนเรียนระดับปตรีจนถึงดอกเตอร์จำนวนมาก



UploadImage

        มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดรับนักศึกษาในแต่ละปีเป็นจำนวน ประมาณ 9,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากข้อมูลพบว่าในแต่ละปีจะมีนักศึกษาใหม่ที่ยากจน  เดือดร้อนทางการเงิน   แต่มีความสามารถในการศึกษา   มีผลการเรียนดี   ผ่านการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ 

ดังนั้น เพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาตามแนวทางของมหาวิทยาลัยของประชาชนด้วยอัตตลักษณ์ ที่แสดงถึงความห่วงใย ใส่ใจ สังคม จึงได้ร่วมสานฝันให้เด็กนักเรียนยากจนมีโอกาสเข้าศึกษาต่อจนจบปริญญาตรี   และส่งเสริมความตั้งใจจริงในการศึกษาเล่าเรียน  เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อใช้ในการกินอยู่  ศึกษาเล่าเรียน   นอกจากนี้ยังมีกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ของรัฐบาล ที่ช่วยอีกทางหนึ่งด้วย

       สำหรับทุนประเภทต่างๆ  ที่จะช่วยให้นักศึกษายากจนสามารถดำรงชีวิต และศึกษาเล่าเรียนจนจบการศึกษาได้อาทิ

ทุนระดับปริญญาตรี

ประเภททุนกองทุนเงินให้กุ้ยืมเพื่อการศึกษา(กองทุน  กยศ.) เป็นกองทุนที่รัฐบาลยื่นมือเข้าช่วยเด็กที่ยากจนแต่มีความสามารถให้เข้าศึกษาเล่าเรียนจนจบปริญญาตรีได้

ติดต่อสายด่วน  084-4285994 หรือ  043-202380 สายภายใน 42323 เว็บไซต์ http:// studentloan.kku.ac.th

ประเภททุนพระราชทานสยามบรมราชกุมารีฯ  ในวาระครบรอบ  40 ปี มข. 

ประเภททุนการศึกษาเอกชน   ที่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคแก่มหาวิทยาลัยขอนแก่น  เพื่อจัดสรรให้นักศึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามเงื่อนไขเจ้าของทุน

ประเภททุนช่วยเหลืออาหารกลางวัน   ได้แก่  ทุนเครือเจริญโภคภัณฑ์,  ทุนพลเอกชวลิต   ยงใจยุทธ    ใช้ดอกผลจัดสรรเป็นทุนการศึกษา
นอกจากนี้ยังมีเงินยืมฉุกเฉินนักศึกษาอีกด้วย

        สอบถามรายละเอียดได้ที่ งานบริการและสวัสดิการ กองกิจการนักศึกษา โทรศัพท์  043-202356   สายภายใน 11974  http://sac.kku.ac.th


ทุนการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

 บัณฑิตวิทยาลัยได้สนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและพัฒนาคุณภาพวิทยานิพนธ์ โดยจัดสรรเงินทุนในแต่ละปีในวงเงินกว่า 20 ล้านบาท ทุนการศึกษามีทั้งหมด 6 ประเภท ได้แก่

1. ทุนอุดหนุนและส่งเสริมการทำวิทยานิพนธ์ วงเงินในการจัดสรร 6.5 ล้านบาทต่อปี  สนับสนุนเงินทุนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพวิทยานิพนธ์ มีรายละเอียดการให้ทุนดังนี้

          1.1 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก ไม่เกิน  100,000.- บาท ต่อเรื่อง

         1.2 วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท   ไม่เกิน    50,000.- บาท ต่อเรื่อง
เงื่อนไข เป็นวิทยานิพนธ์ที่ได้รับอนุมัติเค้าโครงเรียบร้อยแล้ว

กำหนดการรับสมัคร ปีละ 2 ครั้ง ประจำภาคต้น ประมาณเดือนมิถุนายน และประจำภาคปลาย ประมาณเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี

2. ทุนสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาอิสระ

เงื่อนไข-วิทยานิพนธ์/รายงานการศึกษาอิสระต้องได้รับอนุมัติเค้าโครงเรียบร้อยแล้ว

จำนวนครั้งในการได้รับอนุมัติทุน

1) นักศึกษาระดับปริญญาเอก สามารถขอรับทุนได้  2 ครั้ง ทั้งนี้เนื้อหาของผลงานที่นำเสนอหรือตีพิมพ์ต้องไม่ซ้ำกัน

2) นักศึกษาระดับปริญญาโทสามารถขอรับทุนได้ 1 ครั้ง

กำหนดการยื่นขอรับทุนและการพิจารณาทุน

         บัณฑิตวิทยาลัยโดยคณะกรรมการบริหารจัดการทุนฯ กำหนดการยื่นสมัครรับทุนและการพิจารณาทุน จำนวน 3 ครั้งต่อปี รับสมัครประมาณเดือนเมษายน สิงหาคม และธันวาคม ของทุกปี ตามกำหนดการนำเสนอผลงาน

การยื่นเอกสารสมัคร ไม่ต้องรอใบตอบรับจากหน่วยงานที่จัดการประชุมวิชาการแต่สามารถนำหลักฐานการสมัครมายื่นเพื่อให้ทันกำหนดระยะเวลาการตามประกาศรับสมัคร

3. ทุนสนับสนุนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อศึกษาวิจัย ณ ต่างประเทศ
เงื่อนไข     


1. วิทยานิพนธ์/ต้องได้รับอนุมัติเค้าโครงเรียบร้อยแล้ว

2. ต้องไม่เป็นผู้ที่ได้รับทุนใดๆ ที่มีงบประมาณสนับสนุนการไปศึกษาวิจัยในต่างประเทศ และหากได้รับทุนสนับสนุนอื่นในลักษณะนี้ก่อนการเดินทาง จะต้องสละสิทธิ์ทุนนี้

3. สามารถอยู่ศึกษาวิจัยในต่างประเทศได้ไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์
  

4. ทุนสนับสนุนผู้ช่วยสอน(TA)

         ทุนสนับสนุนผู้ช่วยสอน เป็นเงินทุนจากกองทุนพัฒนาบัณฑิตศึกษา โดยมีภาระช่วยสอนสัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมงและไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
อัตราเงินทุน  ทุนละ 4,000.- บาท ต่อเดือน ระยะเวลา 8 เดือน ต่อปีการศึกษา เป็นเงิน 32,000.- บาท ต่อทุน

5. ทุนอุดหนุนการค้นคว้าและวิจัยในการทำวิทยานิพนธ์หรือการศึกษาอิสระ
เงื่อนไข   

         1. เป็นผู้ที่ไม่อยู่ในระหว่างการรับหรือเคยได้รับทุนการศึกษาวิจัย ในขณะที่ศึกษาอยู่  ในระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งที่เป็นทุนภายนอกและภายในมหาวิทยาลัย

         2. เป็นวิทยานิพนธ์/การศึกษาอิสระ ที่ได้รับอนุมัติเค้าโครงเรียบร้อยแล้ว  จัดสรรปีละ 2 ครั้ง ๆ ละ 75 ทุน ๆ ละ 5,000 บาท (ประจำภาคต้น/ปลาย)
กำหนดการรับสมัคร ประมาณเดือนมิถุนายนและพฤศจิกายน ของทุกปี

6. ทุนวิจัยสำหรับคณาจารย์บัณฑิตศึกษา

         เพื่อให้สามารถรับนักศึกษาที่มีความสามารถ และศักยภาพสูงเข้าศึกษาในหลักสูตรและทำวิจัย ในสาขาที่อาจารย์มีความเชี่ยวชาญ โดยที่อาจารย์บัณฑิตศึกษาเป็นผู้ยื่นเอกสารโครงการเพื่อขอรับทุน ประมาณ 20 ทุนต่อปี ในวงเงิน 7.5 ล้านบาท (รายละเอียดตามประกาศรับสมัคร)

         ทุนที่ให้ผ่านอาจารย์บัณฑิตศึกษา แบ่งเป็น 2 ประเภท (อาจารย์เป็นผู้สมัครขอรับทุน)

         - ระดับปริญญาโท ทุนละไม่เกิน 250,000 บาท (ตลอดหลักสูตรไม่เกิน 2 ปีการศึกษา)

         - ระดับปริญญาเอก ทุนละไม่เกิน 500,000 บาท (ตลอดหลักสูตรไม่เกิน 3 ปีการศึกษา)

กำหนดการรับสมัคร ประมาณเดือนกันยายนของทุกปี

    สอบถามรายละเอียด เงื่อนไขการรับสมัครทุนต่างๆ ได้ที่บัณฑิตวิทยาลัย  0-4320-2420 โทรสาร  0-4320-2421 อีเมล์ graduate@kku.ac.th และสามารถ ดาวน์โหลดประกาศ  ใบสมัครทุนและดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย http://gs.kku.ac.th

ทุนการศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ

        มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีหน่วยงานสนับสนุนการเรียน การทำวิจัยของนักศึกษา ทั้งด้านข้อมูล อุปกรณ์การเรียน ทุนการศึกษา มีศูนย์วิจัยเฉพาะทางในหลายๆด้าน มากกว่า 20 ศูนย์ ดังนี้

    1. ศูนย์วิจัยน้ำบาดาล คณะเทคโนโลยี นอกจากงานดำเนินการศึกษาและวิจัยแล้ว ยังสนับสนุนการเรียนของนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ทั้งทางด้านข้อมูล อุปกรณ์เรียน และทุนการศึกษา http://www.gwrckku.com/

    2. ศูนย์วิจัยโรคเมลิออยโดสิส ให้ทุนสนับสนุนการเรียนในระดับบัณฑิตศึกษาอย่างครบวงจร http://www.melioid.org/

    3. ศูนย์วิจัยอนุกรมวิธานประยุกต์  http://202.28.94.202/atrc/

    4. ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง สนับสนุนการวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา การเชื่อมโยงงานวิจัยกับการสอน การสร้างเครือข่ายการวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ http://www.plurality.net

    5. ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรอาหารสัตว์เขตร้อน เพื่อผลิตนักวิจัยที่สอดคล้องกับการผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษา ที่มีความสามารถในการวิจัย ศึกษา ค้นคว้า รวมทั้งสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอาหารสัตว์เขตร้อน http://web.kku.ac.th/trofrec/

    6. ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพรมหาวิทยาลัยขอนแก่น  สนับสนุนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในหลักสูตรต่างๆที่เกี่ยวข้อง ให้ทำการวิจัยและมีความเชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพร เพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างโอกาสของการพัฒนาศักยภาพวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของสมาชิกของศูนย์ฯ http://herbal.kku.ac.th/

    7. ศูนย์วิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย เพื่อพัฒนาคุณภาพของบุคลากรและสร้างบัณฑิตให้มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและสารอันตรายอย่างเป็นรูปธรรม โดยเป็นศูนย์ชำนาญการพิเศษเฉพาะทาง เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ต่างๆให้แก่สังคมทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน http://envi02.en.kku.ac.th/th/

    8. ศูนย์วิจัยและพัฒนาโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน มีทุนสนับสนุนการทำวิจัยระดับปริญญาเอก-ระดับปริญญาโท http://www.en.kku.ac.th/sirdc/

    9. ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน  เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลของชาติด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช ซึ่งเป็นการสร้างนักปรับปรุงพันธุ์พืชผู้ที่จะออกไปเป็นผู้สร้างเทคโนโลยีด้านพันธุ์พืช โดยการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี, ปริญญาโท และปริญญาเอก http://www.pbrcsa.kku.ac.th/

    10. ศูนย์วิจัยการหมักเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญอย่างลึกซึ้งในกระบวนการวิจัย และพัฒนาการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารหมักดอง เมรัย และสุรากลั่นใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพสูง โดยงานวิจัยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท และเอก http://fervaap.kku.ac.th/

    11. ศูนย์วิจัยเครื่องจักรกลเกษตรและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว มีการพัฒนาบุคลากรด้านเครื่องจักรกลเกษตรและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ควบคู่ไปกับการวิจัยและพัฒนา http://aetech.en.kku.ac.th/

    12.  ศูนย์วิจัยพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี  http://www.livercare.kku.ac.th/2008/

    13. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์  ดำเนินงานสนับสนุนด้านการเรียนการสอนและการวิจัยในระดับสูงของคณะ http://home.kku.ac.th/cmdl/2552/

    14. ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  http://negistda.kku.ac.th/

    15. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนรวมสำหรับเด็กออทิสติก http://home.kku.ac.th/autistic/th/index.php

    16. ศูนย์วิจัยนาโนเทคโนโลยีบูรณาการ จัดตั้งเพื่อเป็นศูนย์กลางของการศึกษาการวิจัยและให้ความรู้โดยการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ทันสมัยและมีแนวทางในการทำวิจัยที่เหมาะสมแก่นักวิจัย และบุคลากรที่สนใจซึ่งจะทำให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆทางการแพทย์ เภสัชกรรม วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  http://www.nano.kku.ac.th/

    17. ศูนย์วิจัยและบริการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อระบาดใหม่ (RCEID) สนับสนุนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ทำการวิจัยและมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัย โรคติดเชื้อระบาดใหม่ และโรคติดเชื้อที่กลับมาระบาดใหม่ http://emerging.kku.ac.th/

    18. ศูนย์วิจัยผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯภายใต้โครงการตะวันฉาย เพื่อการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และความพิการแต่กำเนิดของศีรษะและใบหน้าชั้นนำของเอเชีย และมุ่งมั่นในการดำเนินการด้านการศึกษา การวิจัย และการให้บริการที่มาตรฐานแก่ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ ศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯมข. ภายใต้โครงการพระราชทาน"ตะวันฉาย" http://kkucleft.kku.ac.th/

    19. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ มุ่งพัฒนาทรัพยากรบุคคล องค์ความรู้ เทคนิควิธีการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ แบบธรรมาภิบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ http://home.kku.ac.th/wnec/

    20. ศูนย์ศึกษาวิจัยโรคกระดูกพรุน คณะแพทยศาสตร์   เป็นแหล่งให้ความรู้ โดยมีทีมอาจารย์แพทย์จากหลายๆภาควิชา (ภาควิชาออร์โธปิดิกส์, ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, ภาควิชาอายุรศาสตร์, และภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู) ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน มาร่วมกันพัฒนาการเรียนการสอนเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนในลักษณะบูรณาการ และเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  http://www.osteokku.com

21.  ศูนย์วิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทน  มีทุนสนับสนุนการทำวิจัยและสนับสนุน ส่งเสริมพัฒนาการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาและทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ดำเนินกิจกรรมบริการวิชาการทางด้านพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีพลังงานและที่เกี่ยวข้องให้แก่หน่วยงานในภาครัฐและเอกชน http://aerd.kku.ac.th/

22. ศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนวันแรงงาน คณะพยาบาลศาสตร์  เพื่อดำเนินการวิจัยและสร้างเครือข่ายการดำเนินการวิจัย และเป็นแหล่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ และการปฏิบัติการวิจัยอันนำไปสู่ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงานในระดับภูมิภาคประเทศและนานาชาติ http://nu.kku.ac.th/Unit/reqw/

23. ศูนย์วิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางปัญญา สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ http://cogtech.kku.ac.th/

24. ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ เพื่อพัฒนาระบบฝึกหัดครูคณิตศาสตร์ และเพื่อสร้างงานวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับโรงเรียน ทั้งในประเทศและประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง http://home.kku.ac.th/crme/

25. ศูนย์วิจัยท่องเที่ยวภูมิภาคลุ่มน้ำโขง  เพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบฐานข้อมูลท่องเที่ยวและการตัดสินใจในการพัฒนาการท่องเที่ยวระดับภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และเพื่อพัฒนาการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อสร้างองค์กรความรู้ด้านศักยภาพการท่องเที่ยวภูมิภาคลุ่มน้ำโขง http://recmert.kku.ac.th/

26. ศูนย์วิจัยร่วมเฉพาะทางด้านส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์  คณะวิศวกรรมศาสตร์มข.  http://www.hdd.kku.ac.th/2010/

27. ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ http://gecnet.kku.ac.th/

28. ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรเพื่อเศรษฐกิจที่ยั่งยืน http://agbiotec.kku.ac.th/

29.ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์สัตว์ (ไก่พื้นเมือง)http://ncab.kku.ac.th/

        นอกจากนี้ยังมีทุนเฉพาะภาควิชา และทุนภายนอกหรือทุนเฉพาะ เช่น ทุนราชกรีฑาสโมสร ทุนสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) และทุนพัฒนาบุคลากรระดับปริญญาโท ปริญญาเอก สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) เป็นต้น


ขอขอบคุณ ENN.co.th