มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ชู จุดเด่นเสริมองค์ความรู้ให้ผู้เรียนสามารถวางแผนการวิเคราะห์ทางด้านธุรกิจ เศรษฐกิจและการลงทุน สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้ ทั้งในงานระดับนโยบาย ระดับการเมือง ระดับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หรือธุรกิจส่วนตัว
ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการและหลักสูตร กล่าวว่า ในช่วงที่สถานการณ์ในทวีปเอเชียมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่าทวีป อื่นๆ ทำให้โครงสร้างตลาดเงินและตลาดทุนในประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวด เร็ว เครื่องมือทางการเงินเกิดขึ้นมากมาย ทั้งเทคโนโลยีวัสดุ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีนาโน และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ข้อมูลข่าวสารทางการเงินและเศรษฐกิจทั่วไปมีความซับซ้อนมากขึ้น นักเศรษฐศาสตร์จึงจำเป็นต้องเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และสามารถนำเครื่องมือเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นความสอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ของกระทรวงศึกษาธิการ และแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรังสิต กอปรกับสถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการนำมาใช้วางกรอบจัดทำหลักสูตรดังกล่าวขึ้น
คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ กล่าวต่อว่า การเรียนการสอนในหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ เน้นเนื้อหาวิชาเศรษฐศาสตร์อย่างเข้มข้น มีอาจารย์ผู้สอนที่เชี่ยวชาญในศาสตร์ดังกล่าว โดยเป็นผู้ที่มาจากภาควิชาการและภาคปฏิบัติ อาทิ นักเศรษฐศาสตร์ นักบริหาร นักวางแผนในหน่วยงานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ มีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่สามารถให้การดูแลอย่างมีคุณภาพ มีศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการปฏิรูปให้นักศึกษาสามารถมีประสบการณ์ จริงจากการทำวิจัยภาคสนามและสามารถมีรายได้เป็นค่าตอบแทนสำหรับผู้ที่ต้อง การการสนับสนุนทางการเงิน และเป็นหลักสูตรมีการเรียนการสอนนอกเวลาราชการ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนและทำงานควบคู่กันไป”
“คณะฯ มีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และระเบียบ วิจัยจนสามารถทำการวิเคราะห์ วิจัยและค้นคว้าวิทยาการทางด้านเศรษฐศาสตร์ และผลิตผลงานทางเศรษฐศาสตร์ที่มีคุณภาพที่สำคัญจะเน้นให้นำองค์ความรู้ไป ประยุกต์ในการทำงานได้ในทุกสาขาอาชีพ เช่น บริษัทพลังงาน ต้องการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนทางด้านพลังงาน บริษัทประกันภัย ต้องการวิเคราะห์ความเสี่ยง บริษัทโทรคมนาคม เป็นต้น ทั้งนี้ ในอนาคตทางคณะฯ มีนโยบายที่จะพัฒนาหลักสูตรปริญญาโทควบปริญญาเอก โดยผู้ที่เรียนหลักสูตรนี้สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ และสามารถทำงานกับโครงการวิจัยของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจเพื่อการ ปฏิรูปของคณะได้ด้วย เรามีความตั้งใจจะผลิตบุคลากรให้มีความสามารถเพียงพอในการทำหน้าที่ต่างๆ ในระดับสูง และเพื่อให้ประเทศมีบุคลากรที่มีความโดดเด่นในการวางแผน การวิเคราะห์ทางด้านธุรกิจ เศรษฐกิจและการลงทุน สามารถประยุกต์ความรู้ได้ไม่ว่าจะทำงานในระดับนโยบาย ระดับการเมือง ระดับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หรือธุรกิจส่วนตัว” ดร.อนุสรณ์ กล่าวเสริม
ทั้งนี้ หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ประจำภาคการศึกษา 2/2555
โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2555
ผู้สนใจสามารถยื่นใบสมัครได้ที่สำนักงานรับนักศึกษา อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ (อาคาร 1) มหาวิทยาลัยรังสิต
สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตร โทร. 0-2997-2222 ต่อ 1038 หรือ http://ict2.rsu.ac.th/grad/mainProgram.aspx