กรรมการ กสทช. หยั่งเสียงมุมมองชาวโซเชียลเน็ตเวิร์ค เห็นด้วยรับรองผลประมูล 3G หรือไม่ - ด้านประธานทีดีอาร์ไอ ซัดเละประมูลล้มเหลวทำรัฐสูญ 1.6 หมื่นล้าน - สุริยะใส ชี้เคาะราคาตลกที่สุดในโลก มูลค่ารวมยังต่ำกว่าค่าสัมปทานที่จ่ายให้รัฐปีเดียว
ภายหลังจากการประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3G 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่จัดโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้สิ้นสุดลงโดยราคาประมูลใบอนุญาตทั้ง 9 ใบรวมกันได้ราคาทั้งสิ้น 41,625 ล้านบาท ขยับจากราคากลางที่ตั้งไว้ 40,500 ล้านบาท เพียง 1,125 ล้านบาท ซึ่งมีหลายฝ่ายได้ออกมาตอบโต้และไม่เห็นด้วยถึงกรณีดังกล่าวมากมายนั้น
ในช่วงเย็นวันเดียวกัน สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ได้ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว @supinya ระบุว่า "ขอถามทุกท่านว่า ในฐานะเสียงข้างน้อย ข้าพเจ้าควร(เสี่ยง) ร่วมรับรองผลการประมูลคลื่น 2.1 GHz เพื่อชาติไทยไหม #ขอแบบตอบจริงใจนะคะ" โดยมีผู้ใช้ทวิตเตอร์เข้ามาแสดงความเห็นจำนวนมาก ทั้งความเห็นที่ว่าควรให้การรับรองและควบคุมอย่าให้บริษัทเอกชนเอาเปรียบผู้บริโภค และความเห็นที่ไม่เห็นด้วยกับผลการประมูล 3 จี โดยระบุว่าไม่ควรรับรองการประมูลครั้งนี้
หลังจากนั้น สุภิญญา ได้ทวีตข้อความปิดท้ายหลังจากรับฟังมุมมองจากชุมชนทวิตเตอร์ว่า
"เรื่องนี้ถ้าใช้หลักการตัดสิน ง่ายมาก แต่พอมองถึงผลกระทบมันก็ลำบากใจ อย่างไรก็ตาม ทุกการตัดสินใจต้องไม่ขัดต่อมโนสำนึก (conscience) ของตนเอง สุดท้ายเสียงของคนทั้งโลกมันจะไม่ดังเท่าเสียงที่ก้องอยู่ในหัว ใจ และ ท้อง ของเราเอง หลังการตัดสินใจ
อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าอาจจะไม่ต้องตัดสินใจเรื่องนี้ เพราะฟังข่าววิทยุ ท่าน กสทช.เศรษฐพงศ์ บอกว่าจะเอาเข้าบอร์ด กทค.(ด้านโทรคมนาคม)ให้ 5 ท่านรับรอง ดิฉันอยู่บอร์ดฝั่งกระจายเสียง (กสท.) ดังนั้นถ้าเรื่องไม่เข้าบอร์ดใหญ่ ดิฉันก็ไม่ต้องลงมติใด ความรับผิดชอบอยู่ที่บอร์ด กทค.(เสียงส่วนใหญ่) ถูกกดดันมาก ๆ สงสัยแม้เป็นเสียงข้างน้อย อาจต้องลาออกก่อนเสียงข้างมาก LoL"
นอกจากนี้ ทางด้าน นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กส่วนตัว แสดงความเห็นว่าผลการประมูลคลื่นครั้งนี้ล้มเหลว พร้อมกับเรียกร้องให้ กสทช. แสดงความรับผิดชอบ โดยระบุว่า
"ความเห็นต่อการประมูล 3G ครับ ผลการประมูลคลื่น 3G เป็นไปตามที่คาดหมายของผม คือ ได้ราคาเพิ่มขึ้นจากราคาตั้งต้นเพียงเล็กน้อยคือประมาณร้อยละ 2.8 เท่านั้น คือ เพิ่มจากราคาตั้งต้นโดยรวม 9 ใบ ที่ 40,500 ล้านบาท เป็นเพียง 41,650 ล้านบาทเท่านั้น โดยมีคลื่น 6 ชุดที่มีราคาประมูลเท่ากับราคาตั้งต้น
การประมูลครั้งนี้แม้จะทำให้ประชาชนมีบริการ 3G ใช้กันอย่างเต็มรูปแบบในปีหน้า แต่ก็ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนในฐานผู้เสียภาษี เมื่อเทียบจากราคาประเมินถึง 16,335 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการทั้งสามรายได้ประโยชน์จากส่วนต่างนี้ไปเป็นเสมือน "ลาภลอย" ทั้งนี้ยังไม่รวมประโยชน์ที่ได้จากการลดค่าสัมปทานที่ต้องจ่ายให้รัฐอีกปีละกว่า 4 หมื่นล้านบาท ที่สำคัญการที่แต่ละรายได้คลื่น 3G มูลค่าถูกแสนถูกต่ำกว่าปีละ 1 พันล้านบาทต่อปี จะไม่มีผลต่ออัตราค่าบริการ 3G ที่ประชาชนต้องจ่ายแต่อย่างใด นอกจากจะเพิ่มกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ประกอบการ ดังจะเห็นได้จากราคาหุ้นของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น
ผลการประมูลครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่า ข้อมูลที่ กสทช. พยายามโฆษณาให้ประชาชนเชื่อมาโดยตลอดว่าจะมีการแข่งขันมาก เนื่องจากคลื่นความถี่แต่ละชุดมีความแตกต่างกันมาก เสมือนเป็นที่ดินทำเลดีติดทะเลกับที่ดินแออัดติดถนนใหญ่ไม่เป็นความจริง และตอกย้ำความเชื่อของสาธารณชนในวงกว้างที่ว่า การประมูลครั้งนี้มีลักษณะเอื้อต่อการสมคบกันของผู้ประกอบการ
นอกจากนี้ ผลการประมูลยังชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรงของการออกแบบการประมูล 2 ประการคือ หนึ่ง การจำกัดคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการแต่ละรายจะสามารถถือครองได้ให้เท่ากัน ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันอย่างที่ควรจะเป็น สอง การกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ทำให้เกิดความเสียหายมาก เมื่อไม่มีการแข่งขันกันเท่าที่ควร ทั้งนี้ หาก กสทช. ได้รับฟังข้อทักท้วงของฝ่ายต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดข้อผิดพลาดดังกล่าวขึ้น
ภายหลังจากการประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3G 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่จัดโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้สิ้นสุดลงโดยราคาประมูลใบอนุญาตทั้ง 9 ใบรวมกันได้ราคาทั้งสิ้น 41,625 ล้านบาท ขยับจากราคากลางที่ตั้งไว้ 40,500 ล้านบาท เพียง 1,125 ล้านบาท ซึ่งมีหลายฝ่ายได้ออกมาตอบโต้และไม่เห็นด้วยถึงกรณีดังกล่าวมากมายนั้น
ในช่วงเย็นวันเดียวกัน สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. ได้ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว @supinya ระบุว่า "ขอถามทุกท่านว่า ในฐานะเสียงข้างน้อย ข้าพเจ้าควร(เสี่ยง) ร่วมรับรองผลการประมูลคลื่น 2.1 GHz เพื่อชาติไทยไหม #ขอแบบตอบจริงใจนะคะ" โดยมีผู้ใช้ทวิตเตอร์เข้ามาแสดงความเห็นจำนวนมาก ทั้งความเห็นที่ว่าควรให้การรับรองและควบคุมอย่าให้บริษัทเอกชนเอาเปรียบผู้บริโภค และความเห็นที่ไม่เห็นด้วยกับผลการประมูล 3 จี โดยระบุว่าไม่ควรรับรองการประมูลครั้งนี้
หลังจากนั้น สุภิญญา ได้ทวีตข้อความปิดท้ายหลังจากรับฟังมุมมองจากชุมชนทวิตเตอร์ว่า
"เรื่องนี้ถ้าใช้หลักการตัดสิน ง่ายมาก แต่พอมองถึงผลกระทบมันก็ลำบากใจ อย่างไรก็ตาม ทุกการตัดสินใจต้องไม่ขัดต่อมโนสำนึก (conscience) ของตนเอง สุดท้ายเสียงของคนทั้งโลกมันจะไม่ดังเท่าเสียงที่ก้องอยู่ในหัว ใจ และ ท้อง ของเราเอง หลังการตัดสินใจ
อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าอาจจะไม่ต้องตัดสินใจเรื่องนี้ เพราะฟังข่าววิทยุ ท่าน กสทช.เศรษฐพงศ์ บอกว่าจะเอาเข้าบอร์ด กทค.(ด้านโทรคมนาคม)ให้ 5 ท่านรับรอง ดิฉันอยู่บอร์ดฝั่งกระจายเสียง (กสท.) ดังนั้นถ้าเรื่องไม่เข้าบอร์ดใหญ่ ดิฉันก็ไม่ต้องลงมติใด ความรับผิดชอบอยู่ที่บอร์ด กทค.(เสียงส่วนใหญ่) ถูกกดดันมาก ๆ สงสัยแม้เป็นเสียงข้างน้อย อาจต้องลาออกก่อนเสียงข้างมาก LoL"
นอกจากนี้ ทางด้าน นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กส่วนตัว แสดงความเห็นว่าผลการประมูลคลื่นครั้งนี้ล้มเหลว พร้อมกับเรียกร้องให้ กสทช. แสดงความรับผิดชอบ โดยระบุว่า
"ความเห็นต่อการประมูล 3G ครับ ผลการประมูลคลื่น 3G เป็นไปตามที่คาดหมายของผม คือ ได้ราคาเพิ่มขึ้นจากราคาตั้งต้นเพียงเล็กน้อยคือประมาณร้อยละ 2.8 เท่านั้น คือ เพิ่มจากราคาตั้งต้นโดยรวม 9 ใบ ที่ 40,500 ล้านบาท เป็นเพียง 41,650 ล้านบาทเท่านั้น โดยมีคลื่น 6 ชุดที่มีราคาประมูลเท่ากับราคาตั้งต้น
การประมูลครั้งนี้แม้จะทำให้ประชาชนมีบริการ 3G ใช้กันอย่างเต็มรูปแบบในปีหน้า แต่ก็ทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนในฐานผู้เสียภาษี เมื่อเทียบจากราคาประเมินถึง 16,335 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการทั้งสามรายได้ประโยชน์จากส่วนต่างนี้ไปเป็นเสมือน "ลาภลอย" ทั้งนี้ยังไม่รวมประโยชน์ที่ได้จากการลดค่าสัมปทานที่ต้องจ่ายให้รัฐอีกปีละกว่า 4 หมื่นล้านบาท ที่สำคัญการที่แต่ละรายได้คลื่น 3G มูลค่าถูกแสนถูกต่ำกว่าปีละ 1 พันล้านบาทต่อปี จะไม่มีผลต่ออัตราค่าบริการ 3G ที่ประชาชนต้องจ่ายแต่อย่างใด นอกจากจะเพิ่มกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทผู้ประกอบการ ดังจะเห็นได้จากราคาหุ้นของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น
ผลการประมูลครั้งนี้ยังชี้ให้เห็นว่า ข้อมูลที่ กสทช. พยายามโฆษณาให้ประชาชนเชื่อมาโดยตลอดว่าจะมีการแข่งขันมาก เนื่องจากคลื่นความถี่แต่ละชุดมีความแตกต่างกันมาก เสมือนเป็นที่ดินทำเลดีติดทะเลกับที่ดินแออัดติดถนนใหญ่ไม่เป็นความจริง และตอกย้ำความเชื่อของสาธารณชนในวงกว้างที่ว่า การประมูลครั้งนี้มีลักษณะเอื้อต่อการสมคบกันของผู้ประกอบการ
นอกจากนี้ ผลการประมูลยังชี้ให้เห็นข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรงของการออกแบบการประมูล 2 ประการคือ หนึ่ง การจำกัดคลื่นความถี่ที่ผู้ประกอบการแต่ละรายจะสามารถถือครองได้ให้เท่ากัน ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันอย่างที่ควรจะเป็น สอง การกำหนดราคาประมูลขั้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ทำให้เกิดความเสียหายมาก เมื่อไม่มีการแข่งขันกันเท่าที่ควร ทั้งนี้ หาก กสทช. ได้รับฟังข้อทักท้วงของฝ่ายต่าง ๆ ก็จะไม่เกิดข้อผิดพลาดดังกล่าวขึ้น
ผมจึงขอเรียกร้องให้ กสทช. รับผิดชอบต่อความเสียหายต่อรัฐและประชาชนที่เกิดขึ้น โดยให้แถลงต่อประชาชนว่า จะมีการรับผิดชอบอย่างไร และขอเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบ
นอกจากนี้ ในการประมูลคลื่นความถี่ 4G และคลื่นความถี่อื่น ๆ ที่จะมีขึ้นต่อไป ก็ขอให้ระวังอย่าได้ใช้แนวทางเดียวกันมาดำเนินการอีก"
ขณะที่ทางด้านนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ระบุเช่นกันว่า ผลการประมูลเลวร้ายกว่าที่คาดการณ์ และข้อกังวลที่ได้บรรยายในคำฟ้องต่อศาลปกครองก็เกิดขึ้นจริงทุกประการ เช่น ความน่าจะเป็นในการฮั้วกัน เพราะไม่มีการแข่งขันประมูลถึง 6 ใบ โดยราคาอยู่ที่ 4,500 ล้านบาท ที่แข่งกันมีเพียง 3 ใบ ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าแข่งกันจริงหรือไม่ โดยต้องไปดูรายละเอียดอีกครั้ง
และที่น่าตกใจมาก เมื่อรวมมูลค่าการประมูลทั้งหมดได้เพียง 41,625 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากราคาตั้งต้นแค่ 2.77% ทั้งที่ใบอนุญาตมีอายุ 15 ปี หากเทียบกับรายได้ที่รัฐได้ค่าสัมปทานจากเอกชน 3 ราย เฉพาะปีที่แล้วแค่ปีเดียวตั้ง 47,786 ล้านบาท ทำให้ประเทศเสียรายได้มหาศาล และคนที่ได้มากที่สุดกลายเป็นเอกชนผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นการประมูลที่ตลกที่สุดในโลก
นายสุริยะใส กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า จากนี้ไปคงมีข้ออ้างจาก กสทช.และผู้ประกอบการว่า ราคาประมูลต่ำจะทำให้ค่าบริการถูกลงและเป็นประโยชน์ผู้บริโภค ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะปัจจุบันเอกชนได้คลื่น 3G ไปทดลองใช้ฟรี ๆ แต่ประชาชนยังไม่ได้ใช้บริการฟรีหรือถูกลงเลย ที่สำคัญ กสทช. ไม่ได้กำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคไว้ก่อนประมูล เช่น เพดานค่าบริการ การครอบคลุมพื้นที่ คุณภาพคลื่น หรือการเข้าถึงของผู้ด้อยโอกาส อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กลุ่มกรีนรอดูข้อเท็จจริงและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยอาจยื่นกล่าวโทษต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และกำลังปรึกษานักกฎหมายอาจร้องให้ศาลท่านไต่สวนฉุกเฉินอีกครั้งในวันที่ 17 ตุลาคม เพราะข้อเท็จจริงปรากฏแล้วว่า การประมูลครั้งนี้ไม่ชอบมาพากล
เครือ AIS เสนอราคาประมูล 3G สูงสุด 14,625 ล้าน
ทั้งนี้ การประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHz หรือ คลื่น 3G ที่จบลงเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2555 นั้น บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค ได้เสนอราคาประมูลสูงสุดที่ 14,625 ล้านบาท จึงได้สิทธิ์ในการเลือกคลื่นความถี่ก่อน โดยได้เลือกชุดคลื่นความถี่ที่ 7, 8 และ 9 ขณะที่ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ หรือ ทรู ได้สิทธิ์ในการเลือกชุดคลื่นความถี่เป็นอันดับที่ 2 เนื่องจากจับสลากได้สิทธิ์ก่อน หลังการเสนอราคาประมูลของบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ และบริษัท ดีแทค เน็ทเวิร์ค มาในราคาที่เท่ากันที่ 13,500 ล้านบาท โดย บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ ได้เลือกชุดคลื่นความถี่ 4, 5 และ 6 บริษัท ดีแทค เน็ทเวิร์ค ก็ได้เลือกชุดคลื่นความถี่ที่ 1, 2 และ 3
ทั้งนี้ ในอีก 3 วัน ทาง กสทช. จะประกาศผู้ที่เสนอราคาประมูลสูงสุด และจะออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่านความถี่ 2.1 GHz และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 ให้แก่ผู้เข้าร่วมประมูล ภายหลังปฏิบัติไปตามเงื่อนไขที่ถูกต้องครบถ้วนภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการประมูลอย่างเป็นทางการ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก